แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบทวีปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็น 2) หาแนวทาง และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบทวีปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 244 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.98 และสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลมาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ประเมินด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบทวีปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่คาดหวัง อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับแรก คือ ด้านดึงดูดและใช้คนเก่งเต็มที่ ลำดับที่สอง คือ ด้านตัดสินใจด้วยการอภิปราย ลำดับที่สาม คือ ด้านสร้างแรงบันดาลใจให้ได้ใช้ความคิดอย่างเต็มที่ ลำดับที่สี่ คือ ด้านเพิ่มความท้าทาย และลำดับที่ห้า คือ ด้านปลูกฝังความเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบทวีปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน 25 แนวทาง และ 3) แนวทางมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2551). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ทักษะภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มัลติอินฟอร์เมชันเทคโนโลยี.
ฐานิตา อ่วมฉิม และ มณฑา จำปาเหลือง. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 272-284.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พีรเดช พัชรปัญญาพร. (2560). ภาวะผู้นำแบบทวีปัญญาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
ภณิตา ตันทักษิณานุกิจ. (2559). ความรู้สึกเป็นเจ้าของของพนักงานในธุรกิจค้าปลีก กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
รัฐวัลย์ เหมือนมาตร, พระครูกิตติญาณวิสิฐ, อุดร เขียวอ่อน, พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ และ เกษม แสงนนท์. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนขนาดเล็กในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารปัญญา, 27(2), 72-86.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรากร ศุภกาญจนรุจิ. (2558). การประเมินโครงการจัดทำระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS): กรณีศึกษากรมทางหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การบริหารคนเก่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรินันท์ วรรัตนกิจ. (2545). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยใช้วิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์คาโนนิคอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2543). คุณภาพของครูสู่คุณภาพการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (21 ธันวาคม 2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร). สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1Y2foQu6BN6i6zfxTrUGAkoMbYj6FtW91
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (25 มกราคม 2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565, จาก https://online.anyflip.com/cpcv/pcnk/mobile/
_______. (17 พฤษภาคม 2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565, จาก https://online.anyflip.com/cpcv/lawz/mobile/.
สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปทุมธานี.
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
สุพล วังสินธ์. (2545). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา. วารสารวิชาการ, 5(6), 29-30.
สุมาพร ทำทอง. (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียน ในกลุ่มวิภาวดีสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
_______. (2551). การประเมินความต้องการจำเป็นในประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและการจัดการโรงการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรทัย แสงทอง. (2552). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาสถานศึกษาในเขตตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2563). การบริหารจัดการคนเก่งของพนักงานคนไทยในบริษัทญี่ปุ่น แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครชลบุรี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 81-95.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2550). กลยุทธ์การบริหารและพัฒนาพนักงานดาวเด่น. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Guskey, T. R. (2000). Evaluation professional development. California: A sage.
Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(1), 607-610.
Wiseman, L., & McKeown, G. (2010). Multipliers: how to best leaders make everyone smarter. New York: Prentice Hall Press.
Yalcin, V., Pelin, V., & Abdullah, A. (2012). The Effects of Using Talent Management WithPerformance Evaluation System Over Employee Commitment. Social and Behavioral Sciences, 58(8), 340-349.