การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ และ 2) เพื่อพัฒนาและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ การดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 307 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูต้นแบบด้านการจัดการเรียนในยุคปกติใหม่ จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่าด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ รองลงมา คือด้านครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ และด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ ตามลำดับ ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ 2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอยด้วย 4 Module คือ Module 1 ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ Module 2 ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ Module 3 ด้านครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ และModule 4 ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ 4) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการปฏิบัติงานจริง และ 5) การวัดและประเมินผลโปรแกรม ส่วนผลการประเมินโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากเช่นกัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา จันทะโยธา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยรัตน์ ดวงโชติ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). เจาะลึกการเรียนรู้ 5 ON ในช่วงโควิด 19 ON ไหน เหมาะกับใคร. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/89237/-teaarteduteaart-.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปฐมาภรณ์ ปะการะโพธิ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปการจัดการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2563).
วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.