การจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

Main Article Content

ศุภกิจ แก้วพา
ชรินทร์ มั่งคั่ง
นิติกร แก้วปัญญา

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อส่งเสริมความเป็น  พลเมืองยั่งยืนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเป็นพลเมืองยั่งยืนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 33 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ส่งเสริมความเป็น พลเมืองยั่งยืน คือ แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์ (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เศรษฐกิจพื้นบ้านฐานชุมชน จำนวน 3 แผน และเครื่องมือที่ ใช้วัดและประเมินผล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นพลเมืองยั่งยืน ผลจากการศึกษาพบว่า (1) การประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.8 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.9 และแผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.9 ทั้ง 3 แผนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.51 – 5.00 ซึ่งแผนการจัดการ เรียนรู้ ฯ  มีคุณภาพดีมากสามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ (2) ผลการส่งเสริมความเป็นพลเมืองยั่งยืนผ่านจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาพื้นถิ่น ด้านคุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)            มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 0.58 ด้านคุณลักษณะด้านจิตพิสัย (Affective Domain) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 0.46 คุณลักษณะด้านทักษะพิสัย (Psycho-motor Domain) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 0.43 และคุณลักษณะด้านคุณค่าพิสัย (Value Domain) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 0.58 ซึ่งในทั้ง 4 ด้านประเมินผลออกมาอยู่ในระดับที่ดีมากและ พบว่าผู้เรียนได้มีการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นถิ่นอย่างเป็นระบบ มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสามารถที่จะปรับตัวได้ในสถานการณ์โลกหลังยุคสมัยโลกาภิวัตน์


 


คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์, การบูรณาการ, ภูมิปัญญาพื้นถิ่น, พลเมืองยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย