การศึกษาทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายศรีสวัสดิ์ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปรียาภัทร ผายพิมพ์ โรงเรียนบ้านบนเขาแก่งเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

คำสำคัญ:

การเจรจาต่อรอง, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามเพศ 2) เปรียบเทียบทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questiounaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of variance : ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้วิจัยจะดำเนินการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใชวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยส่วนจำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีประสบการณ์ทํางาน 30 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา มากที่สุด และเมื่อทำการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of variance : ANOVA) พบว่า ในภาพรวมของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.mis.meo.go.th/mis-/images/news-2555/260555/EIS/stat54/htm1/T001.htm1.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). แนวคิดและทฤษฎี โดย Luther Gulick รูปแบบการบริหารจัดการ7 ประการ(POSDCORB). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/238-posdcorb-7-luther-gulick. 10 กันยายน 2563.

ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล. (2565). เทคนิคการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.thaiprint.org/2022/07/vol136/knowledge136-04/.

เบญจวรรณ สินณรงค์. (2563). แนวทางการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชยา พงษ์ขาม. (2563). รูปแบบการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ท้อป.

วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์. (2021). การเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://www.psy.chula.ac.th/en/feature-articles/negotiation/.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. (2023). วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://kan1.go.th/main/#.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2018). กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง. กรุงเทพฯ : พัฒนวิจัย.

สุคนธ์ มณีรัตน์. (2558). รูปแบบการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.1977.

Fisher, Roger and Ury, William. (2012). Getting to Ye. (London: Random House Business Books.

Reely and Trey. (2022). The Delicate Art of Negotiation. Instrumentalist 68, Accessed available from http://eds.a.ebscohost.com/ehost//detail?vid=7&sid=f5789.

Vixie Sandy. (2013). Making a Good Match: How Schools and External Service Providers Negotiate Needs and Services in Support of School Improvement. Doctor of Education, University of California, Berkeley0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-10-2024