การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • นพรุจน์ แสนหล้า นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พันธ์ทิพา จุฬากาญจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก, ประสิทธิภาพคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องฟังก์ชั่น 2) หาประสิทธิภาพของแผนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 40 คน โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2)ชุดแบบฝึกทักษะ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและประสิทธิภาพของแผนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, 49-53.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2562). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 4). มูลนิธิสยามกัมมาจล.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report. George Washington University.

Fedler, R. M., & Brent, R. (1996). Navigating the bumpy road to student-centered instruction. College Teaching, 44(2), 43-47.

Hough, J. B., & Duncan, K. (1970). Teaching description and analysis. Addison-Wesley.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: Strategies for the college classroom. Jossey-Bass.

OECD. (2019). PISA 2018 results (Volume I): What students know and can do. https://doi.org/10.1787/5f07c754-en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-10-2024