ความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสามารถทางดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, สังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางดิจิทัลตามความคิดเห็นของครู สังกัดกรุงเทพมหานครโดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 372 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ค่า จำนวน 35 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ (Scheffe's post hoc comparison method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมดิจิทัล รองลงมาคือด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผู้นำดิจิทัล 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และครูที่มีตำแหน่งวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่ทำงานในขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี พ.ศ. 2563 – 2567. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ.2566. https://www.moe.go.th.
จิตรกร จันทร์สุข และ จีรนันท์ วัชรกุล. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2): 36-49.
ชุธารินี ศรีปัญญา, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และมีชัย ออสุวรรณ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2): 9-13.
เซย์มัวร์ ปาเปิร์ด. (2563). ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism). https://anyflip.com/vrget/lfqe/basic.
ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1): 47-56.
ฝนทิพย์ หาญชนะ และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสหวิทยา เขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6): 117-133.
มูอำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตรัง กระบี่. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. 1935-1946.
วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัญฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศศิวิมล ม่วงกล่ำ และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 15(1): 101-104.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจําปีพ.ศ. 2565. สํานักการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักการศึกษา.
อนุนิดา ยนต์ศิริ และอุไร สุทธิแย้ม. (2566). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2): 159 - 172.
อภิวิชญ์ สนลอย. (2565). ภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(1): 89-101.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education (8th ed). London: Routledge.
Eric Sheninger. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. https://books.google.co.th/books?id=MjifAgAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v.
Sheninger, E. (2019). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times (2nd ed.). SAGE Publications Asia-Pacific Pte. Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.