ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์กรของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ศรีประดับ ศรีนำ

คำสำคัญ:

ความภักดีต่อองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร, ความคาดหวังต่อองค์กร

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของความผูกพันต่อองค์กร ความคาดหวัง และความภักดีของผู้ปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพัน ความคาดหวังในการปฏิบัติงานต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของโรงพยาบาลสิชล กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิชล จำนวน 258 คน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D.= 0.73) ความคาดหวังต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ( =3.63, S.D= 0.73) ความภักดีต่อองค์กรอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( =4.27, S.D=0.81)  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์กร พบว่า อายุ อายุงาน ประเภทของการจ้างงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความคาดหวังต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความภักดีต่อองค์กร ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กร (t=8.59, p-value 0.00)  ความคาดหวังต่อองค์กร (t=7.59 p-value 0.00) และอายุของผู้ปฏิบัติงาน (t=3.65, p-value 0.00) ตามลำดับ

References

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลสิชล (2566). ทะเบียนประวัติเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิชล. นครศรีธรรมราช

กองบริหารการสาธารณสุข. (2566). ทำเนียบบริการสุขภาพสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/0.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธัญธิภา แก้วแสง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภสร อินสมตัว ภัครดา ฉายอรุณ. (2560). ความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(3): 137-148.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2562). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบในคริสต์ศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุศรา ก้อนทรัพย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานเทศบาลนครสมุทรปราการ. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โรงพยาบาลสิชล. (2566). จำนวนบุคลากรในหน่วยงาน ปี 2566. งานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลสิชล.นครศรีธรรมราช.

เศรษฐา อ้นอารี, ทิฆัมพร พันลึกเดช, พุฒิธร จิรายุส, ศุภชัย วาสนานนท์ และ ดลฤดี วาสนานนท์. (2564). ปัจจัยความคาดหวังส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8): 281-292.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2559). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ เสมาธรรม

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, pp 1-8.

Hfocus. (2566). เสียงสะท้อน “พยาบาล” ลาออกเพียบ! เฉลี่ยปีละ 7,000 คน เหตุภาระงานล้น ค่าตอบแทนน้อย. https://www.hfocus.org/content/2023/06/27788.

Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.

Mowday, R. T., Porter, L. W. and Steers, R. (1982). Employee-Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism, and Turnover. New York: Academic Press.

Vroom, Victor H. (1970). The nature of the relationship between motivation and performance. Management and Motivation. Tennessee: Kingsport Press Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-03-2024