ผลของการใช้เทคนิคการสอน 5S เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เทคนิคการสอน, เทคนิคการสอน 5S, วิจัยและพัฒนา, เทคนิคเพื่อนคู่คิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน 5S กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครูในระหว่างก่อ นเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน 5S 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อเทคนิคการสอน 5S กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธ ยา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ซึ่งได้รับกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้ปีการศึกษาเป็นหน่วยในการสุ่มเค รื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน 5S แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test Dependent
ผลวิจัยสรุปดังนี้
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู หลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน 5S ค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 77.07 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู หลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน 5S สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจมากต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน 5S ค่าเฉลี่ยภาพรวม คือ 4.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จิระประภา คำภาเกะ. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เทพบุตร หาญมนตรี. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาภรณ์ สดวกดี. (2565). การใช้เกมคณิตศาสตร์เป็นสื่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง พีระมิด กรวย เเละทรงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์. 9(1):145-156.
อมรรัตน์ เตยหอม. (2563). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Lyman, F. T. (1981). The Responsive Classroom Discussion: The Inclusion of all Students In. A. Anderson (Ed.), Mainstreaming Digest. pp. 109-113. college Park: University of Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.