แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มโรงเรียนแม่ปะ-แม่กาษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหาร, ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในกลุ่มโรงเรียนแม่ปะ-แม่กาษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประชากร คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนแม่ปะ-แม่กาษา จำนวน 132 คน แหล่งข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นจำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สภาพของทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ทักษะการบริหารจัดการองค์การ และทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ปัญหาของทักษะการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีปัญหาทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์มากที่สุด รองลงมา คือ ทักษะการบริหารจัดการองค์การ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ทักษะมนุษยสัมพันธ์ และทักษะการสื่อสารแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการระดมความคิดเน้นการทำงานเป็นทีมใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเข้ามาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเผชิญปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาประเมินตัวเองเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับ และมีช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อลดการติดเชื้อโรคโควิด - 19
References
ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด -19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสู่ชีวิตใหม่ด้านงานวิจัยทางสุขภาพ และการบริการ. ปีที่ 8: หน้า 407-416.
ประเสริฐ บุญเรือง. (2563). แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจากจาก : http://www.spm7.go.th.
ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ปรียาพร ไชยพลบาล. (2561). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2563). ทักษะการเรียนรู้ยุคใหม่ในโลกหลังโควิด-19 ที่คนรุ่นใหม่ต้องมี. สืบค้นจาก : https://workpointtoday.com.
โสรยา สือรี. (2564). ทักษะภาวะผู้นำรับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2.(2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก : https://www.takesa2.go.th/site/index.php?option=com_users&view=reset.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.