แนวทางการส่งเสรมิการท่องเที่ยววิถีถิ่นผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • จิรประภา หงษ์เงิน วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ธารานันท์ พรมขัดจา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • บุษรา พิลา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • พลวัต สอนมั่ง วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ธนากร ทั่งเรือง วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยววิถีถิ่น, กิจกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  2)เพื่อวิเคราะห์การท่องเที่ยววิถีถิ่นโดยผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และ 3)เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัด ตาก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยแบบสัมภา ษณ์กึ่งโครงสร้างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำ ชุมชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว  และมีสมาชิกในชุมชนซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และมีการใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นผ่านกิจกรรมการท่อ งเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประกอบด้วย 3 แนวทางที่สำ คัญ คือ 1) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Activity) ด้วยการออกแบบกิจกรรมท่องเที่ย วให้สอดคล้องไปตามวิถีชีวิตของชุมชน 2)การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Knowledge Sharing) โดยชุมชนต้องหาจุดเด่นหรืออัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อนำเส นอเรื่องราวและประสบการณ์ผ่านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนกับนักท่องเที่ย วและ 3)ประสบการณ์ร่วมของนักท่องเที่ยวกับชุมชน (Experience) โดยทางนักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าผ่านการลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับการท่องเที่ยวได้นำผลการศึกษาไปปรับใช้  ในการวางแผนนโยบายการพัฒนาและเป็นแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้บริบทพื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้ง ในการอนุรักษ์วิถีชีวิตวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2560). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก: http://www.trdnrru.net/img/poster1/project01.pdf.

ชัยรัตน์ จุสปาโล.(2561). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภายใต้ อัตลักษณ์และวิถีของท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบ: นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา. สืบค้นจาก: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5950124.

เชษฐ์ นิมมาทพัฒน์, สถิระ ราชรินทร์, อุดม แหวนคำ. (2558). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรมการเทศน์มหาชาติ จังหวัดน่าน – แขวงไชยบุรี สปป.ลาว. สืบค้นจากจาก: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/338.

นนลณีย์ วรจรัสวิทย์, ภัทราวดี มากมี, พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2562). การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวในเขตลุ่มแม่น้ำบางปะกง.สืบค้นจาก : http://www.ojslib3.buu.in.th/index.php/search2/article/view/6357.

ปวีณา โทนแก้ว. (2542). ความสำคัญของการท่องเที่ยวแบบกิจกรรม. สืบค้นจาก: http://www.repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/21602.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-07-2023