การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวงของชุมชน ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ บุญยัง วิทยาลัยชุมชนตาก

คำสำคัญ:

การพัฒนา, เศรษฐกิจฐานราก, การสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวงของชุมชน ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก”   มีวัตถุประสงค์   1) ศึกษาบริบทพื้นที่ และการจัดการทรัพยากรบัวหลวงของเครือข่ายชุมชนตำบลยกกระบัตร  2)ศึกษาความต้อง การของตลาดและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง 3)เพื่อพัฒนามาตรฐานของผลิ- ตภัณฑ์และการสร้างภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนามูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง  4)ศึกษาและพัฒนาช่ องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากบัวหลวง ใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสม (Mixed Meth od) ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและยังใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง   ได้แก่  กลุ่มเข้าร่วมโครงการ  (คนตกงานจากสถานการณ์โควิด- 19 เกษตรกรที่ต้องการอาชีพเสริม) กลุ่มไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (ประชาชนในพื้นที่รอบข้าง) กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว กลุ่มนักท่องเที่ยว และร้านค้าในสถานที่ท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์  และแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่   ค่าความถี่  ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า  1) การศึกษาบริบทพื้นที่และการจัดการทรัพยากรบัวหลวงของเครือข่ายชุมชนตำบลยกกระบัตร ซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างส่วนใหญ่เป็นชาวล้านนา ประกอบอาชีพ เกษตรกรและเลี้ยงสัตว์  รายได้ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ในพื้นที่มีบัวหลวงเกิดขึ้นเองตามหนองน้ำธรรมชาติมีมากที่หนองจระเข้ ขนาด 800-1,200 ไร่   คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบัวหลวงอย่างเต็มประสิทธิภาพ จากบัวหลวงที่มีมากทำให้หนองน้ำตื้นเขินจึงเกิดเป็นขยะ  สร้างปัญหาให้กับชุมชนรอบหนองและชุมชนที่ใช้น้ำ ด้านช่องทางส่งเสริมการท่องเที่ยวทางชุมชนสามารถนำบัวมาประกอบอาหารต้อนรับนักท่องเที่ยว  เพื่อนำมาเป็นกิจ กรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวตามฤดูกาล   และทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเล็ก ทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ Facebook , Line   2)การศึกษาความต้องการข องตลาดและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ นิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 84.44)  เหตุผลที่ชอบใช้สินค้าเพื่อสุขภาพคือ ดูแล /รักษาสุขภาพตนเอง   (ร้อยละ 44.74)  ส่วนของบัวหลวงที่ชื่นชอบในการนำมาพัฒนาผลิต ภัณฑ์  คือ  กลีบดอกบัว (ร้อยละ 21.74)     รูปแบบผลิตภัณฑ์จากดอกบัวที่ชื่นชอบ คือ การแปรรูป (ร้อยละ 21.49)  คุณสมบัติจากบัวหลวงที่จะตัดสินใจซื้อ  คือ  สรรพคุณ (ร้อยละ 19 .05)  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ คือ ตนเอง (ร้อยละ 23.49)   แหล่งข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงผลิตภัณฑ์และสรรพคุณบัวหลวงคือ อินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 42.86)  ด้านแนว ทางการสร้างมูลค่าเพิ่มมี 2 รูปแบบ ดังนี้   2.1)การนำดอกบัวหลวงมาแปรรูปเป็นอันดับแรก แล้วขยายผลไปยังส่วนอื่นๆ ของบัวหลวง    2.2)การนำบัวหลวงมาเป็นกิจกรรมเส้นทางการท่องเที่ยวเช่น เส้นทางชมดอกบัวหลวงในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน กิจกรรมพายเรือเก็บดอกบัว ไหลบัว   มาประกอบอาหารพื้นถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนให้แก่ผู้มาเยือน     3) การพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการสร้างภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนามูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง  ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้   ระยะที่ 1 สร้างภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการโครงการ ระยะที่ 2 สร้างภาคีเครือข่ายร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากบัวหลวง ระยะที่ 3 หาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกัน จนทำให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบัวหลวง จำนวน 3 รูปแบบ คือ 1) แบบชง 2) แบบชาหมัก และ 3) แบบเยลลี่ 4) การศึกษาและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากบัวหลวง มีดังนี้ 4.1) ศึกษาความต้องการของตลาด 4.2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภา พชุมชน 4.3) การบริหารจัดการ และการบริหารงานร่วมกันของชุมชน 4.4) จัดทำแผนธุรกิจชุมชน (CBMC) และการตลาดออนไลน์ ออฟไลน์

References

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-08-2023