ปัญหาผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
คำสำคัญ:
ผลกระทบ, การเปิดเสรีกัญชาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งพิจารณาจากปัญหา (1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสพ (2) ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (3) ผลกระทบทางสังคมและการเมือง (4) ศึกษาเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สหรัฐ อเมริกา การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี ตัวบทกฎหมาย เอกสาร ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย ผลวิจัยพบว่า (1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสพจะขาดความอดกลั้นในการควบคุมอารมณ์การแสดงอารมณ์ตามความเหมาะสมมีความอดทนน้อยหวาดระแวง ไม่สามารถใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้ กลับเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับตนเอง ครอบครัวและสังคม (2) ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องใช้จ่ายเงินในการซื้อ ยามาใช้ยิ่งติดมากขึ้นยิ่งจำเป็นต้องใช้ปริมาณยามาก (3) ผลกระทบทางสังคมและการเมือง ผู้ติดยาย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นอันตราย ต่อความมั่นคงของประเทศชาติทำให้เสียชื่อเสียง (4) เปรียบเทียบกับในญี่ปุ่นมีกฎหมายควบคุมกัญชากรณีเสพ ปลูก นําเข้า หรือ ส่งออกกัญชาโดยผิดกฎหมาย ในสหราชอาณา จักรกฎหมายบัญญัติให้กัญชาเป็นยาเสพติดซึ่งยังคงห้ามมิ ให้ใช้ด้านนันทนาการ และในสหรัฐอเมริกาจะมีเฉพาะในบางรัฐใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นจึงเสนอ (1) ไม่ควรเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการเนื่องจากจะทำให้มีจำนวนผู้ติดกัญชามากขึ้น จะมีผลกระทบต่อผู้เสพเอง ต่อครอบครัวและสังคมเกิดความเสียหายระดับประเทศ (2) ควรเปิดเสรีกัญชาในทางการแพทย์เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยทางด้านการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์หรือเภสัชกรรม เพื่อประโยชน์ของทางราชการ (3) ควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศึกษาปัญหาผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชาของประเทศ ไทย สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนว่าการเปิดเสรีกัญชา
References
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.). (2566). กัญชาเป็นยาเสพติดห้ามเสพเพื่อสันทนาการ. สืบค้นจาก : http//www.posttoday.com.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.). (2566). การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2562.สืบค้นจาก:http//www.posttoday.com.
ฉัตรสุมน พฤฒิภญิโญ. (2559). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้กฎหมายยาเสพติดเปรียบเทียบ : รูปแบบกฎหมายและแนวทางการควบคุมยาเสพติด. รายงานฉบับสมบูรณ์. แผนงานภาคีวิชาการสารเสพติด (ภวส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ไชยยา รุจจนเวท และคณะ. (2556). การพัฒนากระบวนการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงยาเสพติดของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
รุ่งศักดิ์ วงศ์กระสันต์. (2560). มาตรการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในคดียาเสพติด :แนวทางในการจัดตั้งศาลเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย. งานเอกสารวิชาการ"หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร" รุ่นที่ 60 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
วิชา มหาคุณ. (2556). วินัยคนไทยไม่พร้อม. คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นจาก : http//www.isranews.org.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ/เล่มที่ 9/เรื่องที่13 ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท/ ผลเสียของการติดยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.