การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนผ่าน E-Learning กับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี บิดาศักดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนผ่าน E-Learning กับผลการเรียนรู้  ของนักศึกษที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ในสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึก ษาระดับปริญญาตรีรวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนผ่าน E-Learning  กับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ในสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดิบปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษา 1/2564 สาขาวิชาคอม พิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนผ่าน E-Learning กับกลุ่มที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์รวมถึงแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ผลการวิจัยพ บว่าการจัดการเรียนรู้ที่เรียนผ่าน E-Learning กับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ มีประสิทธิภาพ 82.09/81.10 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และมีกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่าน E-Learning มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ระบบ  E-Learning ซึ่งที่มีพัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้แทนการเรียนการสอนแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ได้

References

กุลฤดี ดำรงผาติ. (2564). e-Leaning เรียนอะไร เมื่อไหร่ จากที่ไหนก็ได้. วารสาร Business.COM.ปีที่ 13 (พฤษภาคม 2564) .

ถนอมพร ตันติพัฒน์. (2563). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 24 (ก.ค.-ก.ย 2563).

เปรมชัย ใจกว้าง. (2564). การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์ สำหรับฝึกอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ผกาวรรณ พวงผกา. (2545). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสมุดภาพเชื่อมโยง วิชาทฤษฎีงานฝีมือเบื้องต้น เรื่องงานตะไบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชา ครุศาสตร์เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Krajcovicova B, Capay M. (2012). Project based educationof computer science using cross-curricular relations. Procedia - Social and BehavioralSciences, 47, 854–63.

Aessi, Stephen M.and Trollip, Stanley R. (1921) . Computer-Based Instruction : Methods and Development. Newjersy: Prentice Hass, 1921.

Burke , Thomas Francis. (1920). A Comparison Study of Computer-assisted Instruction Using Interactive Software Versus Traditional Instruction in a College Macroeconomic Course. Dissertation Abstracts International. Temple University, 1920.

Clark, W.J. (1921) . Effect of Computer Assisted Instruction Program on Aboriginal Student Achievement. Abstract from : ERIC:Accession Number : ED400777, 1921.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-01-2023