การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า “กล้วยเบรคแตก” ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มพลังสตรีชุมชนที่ 4 อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • เผด็จ ทุกข์สูญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี
  • สมใจ วงค์เทียนชัย
  • สุมลมาลย์ อรรถวุฒิชัย

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์, ตราสินค้า, กล้วยเบรคแตก, อำเภอพบพระ, จังหวัดตาก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของ"กล้วยเบรคแตก" ในการพัฒ นาบรรจุภัณฑ์และออกแบบตราสินค้าที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น รวมถึงศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าในการสร้างโอกาสทางการตลา ดและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มพลังสตรีชุมชนที่ 4 ภายในอำเภอพ บพระ จังหวัดตาก การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงคุ ณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน สมาชิกขอ งชุมชน ผู้บริโภค นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และมีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคจำนวน 50 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ บตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ มีแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการให้ข้อมูลสินค้าและท้องถิ่นการนำเสนอความต้องการรวมถึงการแลกเปลี่ยนความ  คิดข้อเสนอแนะ และการแสดงความเห็นสามารถบ่งบอกถึงอัตลัก ษณ์และความโดดเด่นอย่างมีเอกลักษณ์ผ่านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการออกแบบตราสินค้าได้อย่างชัดเจน ทำให้ภาพรวมของการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยมากกับรูปแบบขอ งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการออกแบบตราสินค้าและเห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นที่ว่าผลิ ตภัณฑ์ภายใต้บรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ได้จากการออกแบบจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์รวมถึง สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งจะสามารถสร้างโอกาสทางการตลา ดให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่ม.คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่ม (Value Creation Handbook).เข้าถึงได้จาก https://www.slideshare.net/ (สืบค้นเมื่อวันที่ :8 กันยายน 2560).

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่าง ยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์,คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิติมา เสือทอง มัทนา โมรากุล และ วรฤทัย หาญโชติพันธุ์. (2555). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมทองพับ กลุ่มสตรีแม่บ้านเขียวขจีจังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ทักษิณา สุขพัทธี และ กนกนันท์ อ่อนโพธิ์เตี้ย. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เค้กมะพร้าวน้ำหอมของดีของเด่นสินค้าโอท๊อปจังหวัดนครปฐม. สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,กรุงเทพมหานคร.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร จำกัด.

ยรรยง สินธุ์งาม. (2553). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า “กล้วยเบรคแตก” ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มพลังสตรีชุมชนที่ 4 อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. หลักทั่วไปในการออกแบบบรรจุภัณฑ์.

รัตนวารี นันท์ชัยพฤกษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ภายใต้แบรนด์ Amery. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล .

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ยรรยง คชรัตน์ นธี เหมมันต์ จุฑามาศ พรหมมนตรี นิศาชล สกุลชาญณรงค์ และ ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล. (2557). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และป้ายฉลากเครื่องแกงตำมือ บ้านทุ่งชุมพลพัฒนา ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : วาดศิลป์.

เอกชัย โถเหลือง และ จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ. (2550). การใช้สีในบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัรฮาวีเจ๊ะสะแม และ ยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2),79-90.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons Inc.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2023