การสร้างเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนคนแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
แหล่งท่องเที่ยว, มรดกวัฒนธรรม, เครือข่ายชุมชน, การสร้างเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ การสร้างเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนคนแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ” มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างเครือข่ายนักวิจัยชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชนแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 2) ศึกษา สำรวจ เชื่อมโยง องค์ความรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชนชน ที่สำคัญที่มีศักยภาพของชุมชน อำเภอแม่ระมาด ที่จะใช้เป็นฐานในการพัฒนาท่องเที่ยวโดยเครือข่ายนักวิจัยชุมชน 3) ออกแบบและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชน 4) เพื่อพัฒนา และประเมินศักยภาพการบริหารจัดการ และให้บริการ ใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้ชุมชน ร่วมเรียนรู้ทุกขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกต แบบสอบถามกึ่งทางการ แบบบันทึกภาคสนาม กล้องถ่ายรูป และเครื่องบันทึกเสียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มภาคีเครือข่าย กลุ่มแกนนำชุมชน กลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น ตำบลขะเนจื้อ ตำบลแม่ระมาด และตำบลพระธาตุ อำเภอ แม่ระมาด จังหวัดตากและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาโวหาร ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างเครือข่ายนักวิจัยชุมชน เป็นการเชื่อมบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ใช้เวทีประชุมใหญ่ และกลุ่มย่อย สร้างความเข้าใจร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกันจนเกิดเป็นเครือข่าย 6 หมู่บ้าน 3 ตำบล ทำงานร่วมกับเครือข่ายภายนอก ใช้กระบวนการ CBR พัฒนา CBT อย่างเป็นขั้นตอน เกิดพลังชุมชนที่อยากมีส่วนร่วมในการสร้าง หรือปรับชุมชนเพื่อให้ เกิดความประทับใจสำหรับผู้มาเยือน 2) การศึกษา สำรวจ เชื่อมโยง องค์ความรู้มรดกทางวัฒนธรรมชุมชน มีการค้นทุนเชิงลึกถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยง ทั้งทุนทางธรรมชาติ ทุนทางวัฒนธรรม สังคมที่มีความสัมพันธ์กับประเทศเมียนมาร์ประวัติศาสตร์เกี่ยวโยงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2เส้นทางเดินวัวที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจของคนในสมัยก่อนนำมาเป็นฐานในการคิดกิจกรรมและเส้นทางให้มีเสน่ห์น่าสนใจ สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว 3) การออกแบบและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เปิดแนวคิดใหม่จากการดูงานชุมชนต้นแบบ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นทุนของตนเองภายใต้อัตลักษณ์ร่วมที่ว่า “โฮมสเตย์อบอุ่น สมดุลสองแผ่นดิน ถิ่นสุขสงบ” และ 4) ผลการพัฒนาและประเมินศักยภาพการบริหารจัดการและให้บริการ จัดทำเป็นโปสเตอร์ เพื่อเสนอไปยังภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก ผู้ที่สนใจผ่านการเชิญแบบปากต่อปากสื่อออนไลน์ facebook ทำให้ได้มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นอาชีพเสริมเกิดการกระจายรายได้ในเครือข่ายชุมชน มีการพัฒนาตนเอง ปรับบุคลิก สร้างสีสันในการเป็นนักเล่าเรื่อง และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
References
คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรานุช โสภา และคณะ. (2561). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม (สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร, พระนครศรีอยุธยา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ และคณะ. (2557). การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรสแอนด์ ดีไซน์.
ภราเดช พยัฆวิเชียร. (2547). รายงานประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.
วรรณพร ตุลยาพร. (2554). การพัฒนามัคคุเทศก์อาชีวศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ.
ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม และคณะ. (2559). กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาคีเครือข่ายในเขตบ้านนาอ่างและบ้านอ่างคำ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
แสงเงิน ไกรนรา. (2550). กระบวนการทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครือข่ายทอผ้า : กรณีศึกษา เครือข่ายทอผ้า ตำบลส้มป่อย อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัญญา พานิชยเวช และคณะ. (2560). การศึกษาพัฒนาการเมืองสวรรคโลกและมรดกวัฒนธรรมชุมชนสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยเครือข่ายชุมชนคนสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อนุชาติ พวงสำลี และวีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2541). ประชาสังคม : คำ ความคิด และความหมาย. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.