การบริหารงานงบประมาณของกลุ่มโรงเรียนสะเดา-ไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต3

ผู้แต่ง

  • กาญจนารัตน์ ศรีณรงค์

คำสำคัญ:

การบริหาร, งานงบประมาณ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานงบประมาณของครู กลุ่มโรงเรียนสะเดา-ไทรงาม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในกลุ่มโรงเรียนสะเดา - ไทรงาม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 140 คน   ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้น  และสุ่มอย่างง่ายใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่    ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่   การแจกแจงความถี่  ร้อยละ   ค่าเฉลี่ย    และส่วนเบี่ยง    เบนมาตรฐาน   และการทดสอบค่าที    การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวผลการ    วิจัยพบว่า 

          1. การบริหารงบประมาณของกลุ่มโรงเรียนสะเดา-ไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้น   ที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน   พบว่า  อยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านการบริหารการเงินด้านการบริหารบัญชี  ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการจัดสรรงบประมาณ  ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน และด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ

      2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของกลุ่มโรงเรียนสะเดา-ไทรงาม สังกัดสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน    พบว่า   ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน

      3. ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของกลุ่มโรงเรียนสะเดา-ไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน   

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ร.ส.พ.,

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องระบบบริหารจัดการเพื่อการจัดสรรทรัพยากร สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีที่สอดรับกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เชษฐา ชาญพานิชย์. (2548). สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดำรงค์ โตใย. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญทัย สุรมุล. (2550). การบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปิติพร อาธิเวช. (2557). สภาพ ปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สารนิพนธ์ปริญญา, ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปิยะดา อริยะวงศ์. (2557). สภาพการบริหารงานงบประมาณตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พนม พงษ์ไพบูลย์ และคณะ. (2546). รวมกฎหมายการศึกษา เข้าสู่โครงสร้างใหมกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มนต์ตรี.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). ศึกษาผลกระทบต่อภาคประชาชนจากการจัดบริการสาธารณะ : องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.). นนทบุรี : ดิจิตอลเวิลด์ก๊อปปี้.

สายชล เพชรตระหง่าน. (2554). โครงการพัฒนาตัวชี้วัด: การใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.

สีตีซอปีเย๊าะ มือแยบาสอ. (2557). การบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-10-2020