ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด พระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปภพพล เติมธีรกิจ ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่อง  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรี อยุธยา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามเพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา และอายุ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง  400  คน โดยการคำนวณจากตารางสำเร็จรูป (Yama ne ,1973)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  ได้แก่  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการตามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่า กับ 0.94  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี  2  กลุ่ม และใช้สถิติ One-way ANOVA  เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี  3   กลุ่มขึ้นถ้าพบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé)                                                   

          ผลการวิจัย พบว่า  ค่าความถี่  ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชายร้อยละ (82.8%)  มีสถานภาพสมรสร้อยละ  (47.2%)  มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ (34.0 %) มีอายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ (37.5%) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา อยู่ที่ระดับ  3.638  (SD. = 0.515)   ซึ่งอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า   องค์ประกอบด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  อยู่ในระดับมากที่สุด 3.690 (SD.= 0.847) รองลงมาด้านการสร้างแรงบันดาลใจอยู่ที่ระดับ  3.677 (SD.=0.664) ส่วนด้านการกระตุ้นให้ใช้ปัญญาอยู่ที่ระดับ 3.657  (SD.= 0.609) และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในระดับสุดท้าย 3.530  (SD.= 0.742)  สำหรับผลการวิจัยผลทดสอบ  t-test  ของตัวแปรอิสระที่มี  2  กลุ่ม  นั้นไม่พบความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  .05 โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .696 และมีค่าทดสอบ t = 392  สำหรับในการทดสอบความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบ One - Way ANOVA ตัวแปรต้น ด้านสถานภาพ ด้านระดับวุฒิทางการศึกษา และด้านอายุ ส่วนตัวแปรตามนั้นคือด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ไม่พบความแตกต่างของตัวแปรตาม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก:http://www.dla.go.th/work/abt/.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การสังเคราะห์และถอดบทเรียนนวัตกรรมท้องถิ่นและการบริการสาธารณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ต้นแบบการบริหารจัดการ ภารกิจถ่ายโอน).สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น, สำนักงาน. (2555). รายงานประจำปี 2555. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. สถาบันรัชต์ภาคย์ วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10),4930-4943.

ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นิธิดา บุรณจันทร์. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์กรของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิจักษณา วงศาโรจน์. (2557). ภาวะผู้นําของผู้บริหารที่พึงประสงค์: กรณีศึกษา กรมกําลังพลทหารบก. ในสารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมยศ รัตนปริยานุช. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(8).

สุทธิพงษ์ พันวิลัย (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ต่อคุณภาพการบริการภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุปัญญดา สุนทรนนทธ์ และคณะ. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษย์ศาตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 133-146.

อังกูร เถาวัลย์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17, จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Anuroj, K. (2014). Leadership: Tips for Successful Sustainable Development. Royal Thai Air Force Medical Gazette, 60(3), 53-56.

Bass, B.M. (1999). Two decades of research and development in transformational leadership. European Journal of Work and Organizational Psychology, 8(1), 9-32.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

Mohsen, A. & Mohammad, R. D. (2011). Considering Transformational Leadership Model in Branches of Tehran Social Security Organization. Social and Behavioral Sciences, 15 (2011); 3131-3137.

Steve, N. (2011). Preparing Our Leaders For The Future. Strategic HR Review, 11(1), 5-12.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third edition. New York : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2023