การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมโดยภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สวาท ไพศาลศิริทรัพย์ วิทยาลัยชุมชนตาก

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อร่วมพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ อำเภอพบพระ 2) ศึกษาศักยภาพที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่จะนำมาเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรม/เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์            3) พัฒนาศักยภาพชุมชนและหารูปแบบ    การดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทชุมชน   จนสามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มาเยือนในการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมโดยภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก                                                        ประชากร  ได้แก่  ผู้รู้ที่เป็นชาวบ้านในชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการที่มีประสบการณ์และภูมิรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผู้อาวุโส  องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ผู้บริหารท้องถิ่น พระสงฆ์ นักพัฒนาชุมชนในพื้นที่ครู อาจารย์ ในชุมชนที่มีส่วนร่วมกันในการให้ข้อมูลท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติการ 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป การทดลองกิจกรรมเส้นทางการท่องเที่ยว                                              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบสังเกตแบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการพรรณนาโวหาร                                          ผลการวิจัย พบว่า  ผลการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อร่วมพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์  อำเภอพบพระ  พบว่า  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา ประกอบด้วย  3 ส่วน    ได้แก่   1. แกนนำภายในชุมชน  2.  แกนนำระหว่างชุมชน 3. ภาคีภายนอก ประกอบด้วย  ภาคีภาครัฐ   ผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหาร  ธุรกิจบริการที่จะมาร่วมดำเนินการสร้างและทดลองใช้เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ผลการศึกษา  ศักยภาพที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่จะนำมาเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรม  /เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์    พบว่า   เครือข่ายชุมชนตำบลรวมไทยพัฒนาเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม  ที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์  (ม้ง ล้านนา ปะกาญอ และลีซอ) มีสภาพอากาศเย็นสบายพื้นที่อุดมสมบูรณ์ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีสวนเกษตรผสมผสานที่เป็นแหล่งเรียนรู้  และสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวชมชิมผัก ผลไม้ผลการพัฒนาศักยภาพชุมชนและหารูปแบบการดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทชุมชนจนสามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มาเยือน  พบว่า คนในชุมชน และแกนนำในพื้นที่มีความรู้ความสามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานการท่องเที่ยว  โดยชุมชนการสร้างการมีส่วนร่วมการสร้างเวทีสนทนาตระหนักถึงกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น(CBR)เกิดความรักความสามัคคีคนในชุมชนเห็นคุณค่า   และความเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น  โดยสรุปเป็นอัตลักษณ์ “รวมไทยพัฒนา แหล่งครัวคนไทยวัฒนธรรมหลากหลาย ธรรมชาติสวยงาม” 

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

เจษฎา นกน้อย. (2554). แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

Swarbrooke, J. (1998). Sustainable Tourism Management. Wallingford, Oxon : CABI Publishing UN.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2023