ศักยภาพการจัดการระบบขนส่งทางบกกรณีศึกษาการพัฒนาขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ศักยภาพการจัดการระบบขนส่งทางบก, การพัฒนาขนส่งสาธารณะ, จังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะและ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิ ภาพ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงปริมาณ แจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยอยู่ในระดับมากรองลงมาคือด้านมาตรการป้องกันโควิดอยู่ในระดับมาก ด้านราคาอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวน การให้บริการอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพสิ่งแวดล้อมของสถานีขนส่ง ด้านบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการให้บริการเดินรถอยู่ในระดับปานกลาง และด้านช่องทางการจำหน่ายตั๋วโดยสาร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านราคา ด้านกระบวน การให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย ด้านสภาพแวดล้อมของสถานีขนส่ง และด้านการมาตรการป้องกันโควิด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการให้บริการเดินรถ ด้านช่องทางการจำหน่ายตั๋วโดยสาร และด้านบุคลากร ตามลำดับเนื่องจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 1 ได้มีการควบคุมดูแลเอาใจใส่ในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งช่วงวันธรรมดาและช่วงเทศกาลจะทำให้ผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิ ภาพ จากการศึกษาพบว่าด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ยังต้องปรับปรุงแก้ไข จากผู้ที่มาใช้บริการยังสะดวกสบายไม่เพียงพอจาการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่สถานีขนส่ง พูดจาไพเราะแต่บริการไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ดังนั้น ผู้บริการดูแล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการจัดอบรมในการบริการความคาดหวังในการใช้บริการขนส่งสาธารณะผู้ใช้บริการมีความคิดเห็น อยากให้เที่ยวรถแต่ละรอบมีความตรงต่อเวลา ดังนั้น ผู้บริหาร คือ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจัดประชุมเรื่องในการเดินรถเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้มาใช้บริการ
References
กระทรวงคมนาคม . (2556). นโยบายด้านการขนส่งสาธารณะ. 2 ตุลาคม 2562.http://www.oic.go.th/.
จิตตพัฒน์ พรหมพงษ์.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึ่งพอใจในการใช้บริการสถานีขนส่งโดยสาร จังหวัดพิษณุโลก. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก.
พวงเพ็ชร วรรณท. (2548). การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงานศูนย์บริการลูกค้า ส่วนปฏิบัติการ จังหวัดพิษณุโลก, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิต (สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา). มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. พิษณุโลก.
ราชัน นาสมพงษ์. (2555).การบริการที่ดี,30 กันยายน 2562. http://www.cotoknow.ore/posts.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.