องค์ประกอบของกรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษ แก้วโยธา
  • พินิจนันท์ ชลเทพ
  • ลินดา แก้วแก่น
  • ธีรภัทร พลลาภ
  • อนุชิต จำวิเศษ

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, กรอบแนวคิดแบบเติบโต, กรอบแนวคิดแบบเติบโตของครู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกรอบแนวคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 เป็นการวิจัยเอกสารดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ                                                                                    1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับกรอบแนวคิดแบบเติบโต  (Growth Mindset) จำนวน 10 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของกรอบแนวคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของกรอบแนวคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ตามกรอบที่ได้จากการสังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า กรอบแนวคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มี  5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่  1) การเรียนรู้จากอุปสรรค มีตัวชี้วัด  4 ตัว  คือ  การยอมรับข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการปฏิบัติงาน  การกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา  และอุปสรรคที่เกิดขึ้น     การหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและการจัดการกับปัญหาที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกครั้ง                                  2) การสร้างความท้าทายในงานให้ตนเอง  ประกอบด้วยตัวชี้วัด  4 ตัว คือ การเป็นบุคคลที่มีการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบ การปรับตัวให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์  การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์                    3) ความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงาน  ประกอบด้วยตัวชี้วัด  4  ตัว  คือ การมีความตั้งใจและความพยายามในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของสถานศึกษา การมีความอดทนอุทิศตนในการปฏิบัติงานในโรงเรียนอย่างเต็มที่ การปฏิบัติตนให้เป็นบุคลากรที่ดีในการปฏิบัติงานในโรงเรียน และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ                                  4) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์และข้อติชมประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัว คือ การรับฟังคำวิจารณ์และข้อติชมข้อเสนอแนะต่างๆจากผู้อื่น การเข้าใจและยอมรับข้อติชม และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น และ                                                                                   5) การมีแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัว คือ การกล้าคิดและกล้าแสดงความคิดเห็นเชิงบวก ในการปฏิบัติงาน ความตั้งใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเองจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ 

References

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนะดี สุริยะจันทร์หอม และอารยา ปิยะกุล.(2561). ผลการใช้รูปแบบ SPASA เพื่อเสริมสร้างโกรว์ธมายด์เซตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 56-63.

เนตรนิยมาศ วรรณพยันต์. (2560). วิถีครูกับการพัฒนากรอบความคิดศิษย์. วารสารวิชาการหาดใหญ่, 15(2), 185-195.

ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์. (2561). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(1), 389-399.

วีระยุทธ แสนพินิจ. (2562). รูปแบบการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา : การวิจัยผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ละอองดาว ชาวกงจักร์ และธีนะดา ภิญโญ. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูโดยใช้กรอบความคิดเติบโตของข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 151-159.

ศูนย์วิจัยจิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). กรอบความคิดแบบเติบโต Growth Mindset รักเรียนรู้และชอบความท้าทาย. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561, เข้าถึงได้จาก http://www. cepthailand.org/index.php?mo=59&id=1108752.

สุวิทย์เมษินทรีย์. (2560). การศึกษาไทยยุค 4.0 ให้เรียนในสิ่งที่ชอบ. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.thai rath.co.th/content/1082110.

Campbell, S. (2017). 6 Ways to Develop a Growth Mindset. Retrieved December 4, 2018, from https://www.entrepreneur.com/article/305335.

Dweck, C.S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. Retrieved December4,2018, from http://www.amazon

.com/Mindset-Psychology-Carol-S-Dweck/dp/0345472322.

_______. (2012). Mindset: How you can fulfill your potential. Retrieved December 4,2018, from http://www.amazon. co.uk/Mindset-How-Fulfil-Your-Potential/dp/1780332009.

_______. (2015). Carol Dweck Revisits the 'Growth Mindset'. Retrieved December 4, 2018 , from https://www.edweek. org/ew/articles/2015/09/23/carol-dweckrevisits-the-growth-mindset.html.

_______. (2015). "Mindset Theory – Fixed vs. Growth Mindset (Dweck)," in Learning Theories.Retrieved December 4,2018, from https://www.learning-theories.com/ mindset-theory-fixed-vs-growth-mindset-dweck.html.

Warren, F., & Hoskins, S. (2017). What is Growth Mindset Theory?. Retrieved December 6, 2018, from http://www.havannah.cheshire.sch.uk/havannahheroes/what-is-growth-mindset-theory/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2023