แนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ความต้องการ, การส่งเสริม, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองโสนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษาศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน 4) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน 5)วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสม ประชากร คือ คนในชุมชน 230 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 144 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย และเกษตรกรที่เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำานวน 26 คน ศึกษาทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับแ ละการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุเฉลี่ย 59 ปี สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพเกษตรกรรม สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.2 คน คาดหวังให้มีรายได้เพิ่มขึ้น (2) ชุมชนเห็นว่าการมีส่วนร่วมระดับปานกลาง ด้านความเป็นเจ้าของ ความพร้อม รับประโยชน์กำหนดทิศทาง ริเริ่มพัฒนา และประเมินผล (3) ชุมชนเห็นว่ามีศักยภาพระดับน้อย ด้านการบริหารจัดการ การรองรับ ให้บริการ และความดึงดูดใจ (4) รูปแบบการจัดการควรเน้น ด้านทรัพยากร ท่องเที่ยว ตลาด และการบริการ ส่วนเกษตรกร มีความคิดเห็นว่ามีความพร้อมในระดับมาก คือ ทรัพยากรท่องเที่ยว และให้นักท่องเที่ยวเข้าใจประวัติความเป็นมาหวงแหนในทรัพยากร และมีกลุ่มที่เข้มแข็ง มีศักยภาพการจัดการระดับมากที่สุด ด้านการบริหารจัดการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค มีปัญหาระดับมาก ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (5) มีความต้องการการส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับมากจากสื่อบุคคล คือ ภาครัฐ สื่อสิงพิมพ์ คือ คู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ วิดีโอ และอินเตอร์เน็ต ความต้องการวิธีการส่งเสริม คือ ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2545). การบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มนโยบายและพัฒนาระบบท่องเที่ยวเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
จินดา ขลิบทอง. (2556). การวิจัยในงานส่งเสริมการเกษตร ในประมวลสาระวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จารุวรรณ ศิลธร, ศักดิ์เกษม ปานะลาด. (2564). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 10(2), 200-204.
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง และเพชร ทวีวงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 11(1), 48-62.
ชลธิชา พันธ์สว่าง, เสรี วงษ์มณฑา, ชวลีย์ ณ ถลาง, กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว และปัจจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (1), 40-44.
ญาณีกรณ์ ธรรมโชติ. (2549). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเกษตรเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฏฐพงษ์ ฉายประทีป. (2557). รูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 310 – 321.
ณัฐธิดา ห้าวหาญ. (2550). ความพร้อมของเกษตรกรเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเกษตรในตำบลดะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทศพล ถาวร. (2554). ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนบ้านปางบง ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทพกร ณ สงขลา. (2553). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืนในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. (2560). แนวคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. ในประมวลสาระชุดวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา. (หน่วยที่ 4, น. 4-41). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยเกริก. (2546). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บท เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวง (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2563). ปัญหาและศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนของบ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารพัฒนศาสตร์, 3(1),46-48
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายของการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไทย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.