การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลังสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์

ผู้แต่ง

  • โยธิน ทองชาวนา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ธุรกิจชุมชน, การพัฒนาศักยภาพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลังสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลังสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับข้อมูลปฐมภูมิ แบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยกำหนดให้มีการดำเนินการศึกษาตามกิจกรรมหลัก ได้แก่ การศึกษาความเหมาะสม การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชุมชน พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ ชุมชนหลังสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์ ระยะเวลาในระหว่างวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2563 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เป็นระยะเวลา 1 ปี 2 เดือนตามมาตรการความปลอดภัยด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 2019 โดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลบริบทภายในด้วยแบบจำลอง PRIMO-F Analysis และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ โดยใช้แบบจำลอง PEST Analysis การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) การวิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุนด้วย Nice Cell Matrix การวิเคราะห์ TOWS Matrix ตัวชี้วัดแนวทางการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ด้วย Balanced scorecard พบว่า กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย 1) สร้างรูปแบบของผลิตภัณฑ์ขยายเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง โดยนำเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่าย E-Commerce ตามกระแสผู้บริโภคนิยมสนใจสินค้าที่ผลิตจากชุมชนเพื่อขยายตลาด 2) ร่วมงานสัมมนา/อบรม สร้างเครือข่าย วางแผนให้สอดคล้องนโยบายและมาตรการยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถแก่ผู้ประกอบการ กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบด้วย 1) สร้างเครือข่ายกับวิสาหกิจชุมชน/สถาบันการศึกษาที่ช่วยเหลือถ่ายทอดองค์ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนการตลาด 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างตรายี่ห้อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความแตกต่างและลดต้นทุน กลยุทธ์เชิงป้องกัน ประกอบด้วย 1) สำรวจความต้องการผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 2) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นหลักฐานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ/สถาบันการเงิน กลยุทธ์เชิงแก้ไขประกอบด้วย 1) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีทั้งภาครัฐ/สถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อป้องกันฐานข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต โดยมีตัวชี้วัดแนวทางการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติรวม 7 ตัวชี้วัด

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2016). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันผลิตภัณฑ์ OTOP หมูฝอยกรอบโกเนียร ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. Modern Management Journal, 14(2), 67-78. แหล่งที่มา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/207667

จุติพร ฮกอั้น, ธนาภรณ์ นิลโมทย์, สิราวรรณ สายอ๋อง และชลลดา แสงมณีศิริสาธิตกิจ. (2021). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชนกรณีศึกษากลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 96-110. แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/250919.

ธันยมัย เจียรกุล.(2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34 (1), 177-191. แหล่งที่มา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/81168/64580

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล, อรมน ปั้นทอง, จุฑาทิพย์ พหลภาคย์ และขวัญมิ่ง คำประเสริฐ. (2563). การพัฒนาศักยภาพการประกอบการธุรกิจชุมชน กรณีธุรกิจชุมชนหมู่บ้านเลิศอุบลเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(32), 125-140.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และวุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ. (2551). การบริหารการตลาดยุดใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

ศิวฤทธ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2553). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จี.พี. ไซเบอร์พรินท์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ .ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563 จาก https://www.nesdb.go.th/.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2006). Alignment: Using the balanced scorecard to create corporate synergies. Harvard Business Press. (Online).

Kotler, Philip.(2009). Marketing Management. 13th Edition. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

United Nations. (2019). World Population Prospects 2019. Department of Economic and Social Affairs (ระบบออนไลน์ ). สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.un.org/development/desa/publications/world-population-prospects-2019-highlights.html

United Nations. (2019). World Population Prospects 2019. Department of Economic and Social Affairs (ระบบออนไลน์ ). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 จาก https://population.un.org/wpp/Graphs/Probabilistic/POP/60plus/900

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2023