ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศิริมา แก้วเกิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ภคพล สุนทรโรจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • จักรพันธ์ สาตมุณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, ความภักดีในตราสินค้า, ปกติวิถีใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และความภักดีในตราสินค้ามากินกล้วย 2) ทดสอบอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้ามากินกล้วยภายใต้ความปกติวิถีใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ในตราสินค้ามากินกล้วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และความภักดีในตราสินค้ากินกล้วย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีในตราสินค้ามากินกล้วยภายใต้ความปกติวิถีใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในการปรับปรุงและพัฒนากำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การบริหารจัดการธุรกิจ ผลิตภัณฑ์รวมถึง การบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉวีวงศ์ บวรกีรติขจร. (2560). “การศึกษาการซื้อขายสินค้ากลุ่มแฟชั่นในสื่อสังคมออนไลน์.” วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(2) ; (พฤษภาคม–สิงหาคม 2560) : 2056 –2071.

ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสตาร์เวลล์ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพร ดิสนีเวทย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าร้านคาเฟ่ขนมหวานในห้างสรรพสินค้า. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ = E-commerce. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ธิดา อิงคสฤษฎ์และฉัตรพล ไขแสงทอง. (2563). “ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่าแอปพลิเคชันออนไลน์.” วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(3) ; (กันยายน –ธันวาคม 2562) : 88 – 100.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกายรัตน์ สุวรรณ. (2555). คู่มือการใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 12 สำหรับ Windows. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

วริศรา สู้สกุลสิงห์และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.” วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย

ทักษิณ. 12(1) ; (มกราคม –มิถุนายน 2563) : 99 - 118.

หงสา ปลาทอง. (2563). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์และคุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ.

Blare, M., Armstrong,R., and Murphy, M. (2003). The 360 Degree Brand in Asia : Creating More Effective Marketing Communications. Singapore : John Wiley and Sons Asia.

Pearce, W.B. (1997). Moral Conflict : When Social Worlds Collide. California : Sage.

Yamane, T. (1973). Statisics : An introductory analysis. New York : Harper and Row.

เผยแพร่แล้ว

30-03-2023