การศึกษาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การเรียน ในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2

ผู้แต่ง

  • ระวิ ปราบริปู วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ฐิติมน ฉัตรจรัลรัตน์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล, การคัดกรองนักเรียน, การส่งเสริมนักเรียน, การป้องกันและแก้ไข, การส่งต่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ/ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การเรียนในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 73 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่   ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า                                                                                           1. สภาพการปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การเรียนในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด   ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2  โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ ด้านการป้องกันและการแก้ปัญหา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งต่อ และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามลำดับ             2. ปัญหาการปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ   นักเรียนของศูนย์การเรียน ในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า   อำเภอแม่สอด  ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2  โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือด้านการส่งต่อ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการป้องกันและการแก้ปัญหา ตามลำดับ                    3. แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน    ของศูนย์การเรียนในพื้นที่ชาย แดนไทย - พม่า    อำเภอแม่สอด   ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 พบว่า  ควรจัดประชุมครู ผู้ปกครอง และชุมชนเพื่อทำความเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน  ควรมีการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน โดยมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น            การประกวด การแข่งขัน และมีการมอบรางวัล ยกย่อง และให้คำชมเชย  เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคน  ควรแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ความช่วยเหลือนักเรียนให้สอดคล้องและตรงกับปัญหาของนักเรียน ควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือแก้ไข และพัฒนานักเรียน ควรส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมสัมมนาเพื่อนำความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564-2565. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.

กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข. (2547). คู่มือผู้บริหารการสร้างคู่มือเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาสภาการศึกษา.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. (ม.ป.พ.). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. โรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. สารศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประกายดาว เปิ้นมะโอคำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.

พรนภา แก้วพวง. (2562). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนบ้านค้างภิบาล. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.

รังสิพล เปลี่ยนพันธุ์, ฉันทนา จันทร์บรรจง, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์และ อนุชา กอนพ่วง. (2565). ศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว (Mecctak2.com/MECC Migrant Educational Coordination Center). ตาก : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการและและสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุธารัตน์ มณีรัตน์. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายภัทรบูรพา อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอำคุณหญิง เนื่องบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2023