แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้การศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียมแนวใหม่ (New DLTV) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความต้องการเฉพาะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้, การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแนวใหม่, โรงเรียน ขนาดเล็กที่มีความต้องการเฉพาะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแนวใหม่ (New DLTV) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความต้องการเฉพาะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เก็บข้อมูลโดยใช้การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแนวใหม่ (New DLTV) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความต้องการเฉพาะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยรวมและรายประเด็น มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแนวใหม่ (New DLTV) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความต้องการเฉพาะฯ ดังนี้ ควรจัดการอบรมให้แก่ครูได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในสาระหลัก เช่น ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ สำหรับครูที่จบสาขาอื่น ควรเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำเทคนิคการจัดการชั้นเรียน การควบคุมห้องเรียน การเสริมแรง การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอนโดยใช้ New DLTV การเรียนรู้พื้นฐานภาษาชนเผ่า ฯลฯ ให้แก่คณะครู ควรกำหนดเป้าหมายผลการเรียนรู้โดยเฉพาะให้กับโรงเรียนขนาดเล็กฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง
References
กัลยา ลำพันธ์. (2560). การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นิดา หมั่นดี และธีร หฤทัยธนาสันติ์. (2561). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็กในยุคการศึกษาไทย 4.0. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ประสาท วันทนะ. (2552). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการจัดกิจกรรมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยะมาศ วรรณ์แก้ว. (2558). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มพัฒนาการศึกษาดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ไพโรจน์ คงเกิด. (2553). การประเมินโครงการจัดการศึกษาวิธีทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวัดท่าพญาอำเภอปากพนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
วรรณา เครือบคนโท. (2560). การประเมินโครงการขยายผลการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ศิริกานต์ จันทรศิริ. (2559). การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามแนวคิดวงจร Deming โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและมีความยากลำบากในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). “New dltv” สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://dltv.ac.th/about-us.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.