การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ธัญพิชชา มีจี๋
  • อิสรีย์ ติยะพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • รุ่งรดิศ เมืองลือ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน, บ้านห้วยต้ม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนกร ณีศึกษา: ชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 5 กลุ่ม จำ นวนทั้งหมด 15 คน ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านห้วยต้ม จำนวน 1 คน ตัวแทนกลุ่มเครื่องเงิน จำนวน 4 คน ตัวแทนกลุ่มผ้าฝ้ายลายปกาเกอะญอ จำนวน 4 คน ตัวแทนวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จำนวน 3 คน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน โดยเครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน แบบประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ของบ้านห้วยต้ม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร่วมกับค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

          ผลวิจัยพบว่าชุมชนบ้านห้วยต้มมีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ อ่างเก็บน้ำปู อ่างเก็บน้ำแม่ลอง และโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม วัฒนธรรมในการทำบุญตักบาตร สังฆทานผัก ประ เพณีเปลี่ยนผ้าครองสรีระสังขารครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และเจดีย์ศรีเวียงชัย ซึ่งมีศักยภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมาก โดยศักย ภาพด้านทรัพยากรมีมากที่สุด รองลงมา คือ ศักยภาพด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และการปลูก จิตสำนึก และน้อยที่สุด คือ ศักยภาพด้านการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน

References

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ. 13(2), 25-46.

พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560 มกราคม – มิถุนายน). ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาตลาดคลองสวนร้อยปี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 12(1), 36-49.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2560). ผ้าฝ้ายทอมือ ชุมชนปาเก่อญอ บ้านห้วยต้ม ลำพูน สร้างลวดลายด้วยธรรมชาติใกล้ตัว. เข้าถึงได้จาก https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_16543 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มกราคม 2565).

ภาสกร จวนสาง. (2563). การประเมินศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านท่าล้ง จังหวัดอุบลราชธานีและชุมชน บ้านท่าวัด จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต. ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2566-2570).

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). Low Carbon Tourism : การท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. TAT REVIEW. 4(3), 54-57.

อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ. บุษยา วงษ์ชวลิตกุล และธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อจุดหมายปลายทาง ในการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(2) 174-188.

Workpoint today. (2564, 20 กันยายน). สกู๊ปธุรกิจ : ท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนลดความเหลื่อมล้ำในยุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/rural-tourism-in-digital-world/ (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มกราคม 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2023