แนวทางพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนช่องแคบ - คีรีราษฎร์
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, การจัดกิจกรรม, การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและหาแนวทางพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนช่องแคบ - คีรีราษฎร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการหาแนวทางพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนช่องแคบ - คีรีราษฎร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 181 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์ความสอดคล้องเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนช่องแคบ - คีรีราษฎร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเตรียมการจัดการเรียนรู้สื่อการจัดการเรียนรู้และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ ปัญหาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนช่องแคบ - คีรีราษฎร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 มีปัญหาเรียงจากมากไปน้อย คือ สื่อการจัดการเรียนรู้ การเตรียมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ แนวทางพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนช่อง แคบ - คีรีราษฎร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต2 คือควรส่งเสริมสนับสนุนให้วางแผนเตรียมการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนการจัดเรียนรู้ให้ปฏิบัติจริงตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนจัดเนื้อหา เทคนิควิธีการ สื่อจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสม จัดสรรงบประมาณจัดหาสื่อให้เพียงพอเหมาะสม วัดผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการและเครื่องมือหลาย ๆ ชนิด และนิเทศติดตามกำกับเพื่อชี้แนะให้ความช่วยเหลือการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
References
ชิดพงษ์ บาดชารี. (2561). สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่17. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุพงศ์ โสนโชติ. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภาพรรณ พินลา. (2560). ภาวะผู้นำมีความสำคัญและมีในโรงเรียนประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
ศิริวัฒน์ ยุบลพันธ์. (2559). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู เขตอำเภอบ่อทอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เสาวลักษณ์ ผาใหญ่. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรอุมา กองฝ่าย. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.