การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเชิงสร้างสรรค์วิชาการวิจัยทางบัญชีโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ, ทีมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาและศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลังจากได้เรียนโดยใช้กิจกร รมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้เรียนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยหลังเรียนมีค่าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบเรียนการสอนในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.48, S.D = 0.55) และมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุดในด้านความน่าสนใจและความแปลกใหม่ ด้านการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ด้านการทำงานเป็นทีม ส่วนด้านการค้นหาข้อมูล ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักศึกษามีความเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
References
งานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์, อนิรุทธ์ สติมั่น, ฐาปนีย์ ธรรมเมธา และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม, 10(3), 78-95.
ธนกร ขันทเขตต์, ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง, รัฐพล ประดับเวทย์ และสมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. ใน การประชุมวิชาการผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น. 503-512). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธิติรัตน์ รุ่งเจริญเกียรติ. (2558). ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความสามารถทางปัญญาต่างกัน. Veridian E-Journal, Slipakorn Universit, 8(2), 1704 – 1718.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
มนสิชา เปล่งเจริญศิริชัย. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 950-966.
แววดาว บุญตา. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ที่จัดกิจกรรมเรียนแบบร่วมมือ. (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
สงกรานต์ ไกยวงศ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาการบัญชีเพื่อชุมชน กิจกรรมการจัดทำโครงงานแบบบูรณาการกับภาคปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต และ นงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร, 42(พิเศษ), 129-140.
อภิชาติ อนุกูลเวช, สมสรร วงษ์อยู่น้อย, สุรชัย สิกขาบัณฑิต, สมชาย ฉัตรรัตนา แล ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิค บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 9(2), 1-14.
Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online and traditional Learning. London: Kogan Page.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.