การพัฒนาโปรแกรมยิมนาสติกศิลป์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพสำหรับนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ซูแมคี

ผู้แต่ง

  • พงษ์ลัดดา พุดลา
  • ภูฟ้า เสวกพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โปรแกรมยิมนาสติกศิลป์, การดูแลสุขภาพของนักเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเข้าร่วมโปรแกรมยิมนาสติกศิลป์ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพของนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ซูแมคีระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ซูแมคี (THOO MWEH K HEE ) อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 30 คน อายุ 7 – 11 ปี ตัวแปรต้น คือโปรแกรมยิมนาสติกศิลป์ตัวแปรตาม คือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ โปรแกรมยิมนาสติกศิลป์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพของนักเรียนประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 60 นาที โดยมีการประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผลการวิ จัยพบว่า 1.โปรแกรมยิมนาสติกศิลป์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพของนักเรียนในศูนย์การเรี ยนรู้ซูแมคีซึ่งมีองค์ประกอบของโปรแกรม 6 องค์ประกอบ  ดังนี้ 1) เป้าหมาย 2) ตัวชี้วัด 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 4) แนวทางการวัดและประเมินผล 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้  6) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    2. ผลการใช้โปรแกรมยิมนาสติกศิลป์เพื่อส่งเสริมชีวิตในด้านการดูแลสุขภาพสำหรับนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ซูแมคี  พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพฤติกรรมในด้านการดูแลสุขภาพ หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอ งอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 

 

References

เกษแก้ว บุญบาล. (2551). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของโรงเรียนสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. ขอนแก่น.

จัตุรงค์ วงษ์ปาน. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเรื่อง ตะกร้อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนอมราวิทยาภูมิ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. อยุธยา.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2557). การออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอน (Curriculum and Instruction Design). สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ. ปัตตานี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ วีพริ้นท์.กรุงเทพฯ.

เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2554). การนันทนาการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นพเก้า ณ พัทลุง. (2550). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. เทมการพิมพ์สงขลา. สงขลา.

ป้องกันจังหวัดตาก. (2558). รายงานสถานการณ์พื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก ฉบับบทสรุปผู้บริหาร.กระทรวงมหาดไทย. ตาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2023