พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟ เส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน ช่วงสถานการณ์โคโรน่าไวรัส

ผู้แต่ง

  • พรรณปพร จันทร์ฉาย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธนกฤช สุวรรณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยวชาวไทย, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ความพึงพอใจ, การท่องเที่ยวทางรถไฟ, หัวหิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟเส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน ช่วงสถานการณ์โคโรน่าไวรัส 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟเส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน   ช่วงสถาน การณ์โคโรน่าไวรัส โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบ ถามจำนวน 400 ชุด  โดยเลือกตามความสะดวก (Convenience Sampling) กับนักท่องเที่ยวชาวไทยบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟบางซื่อและสถานีหัวหิน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทดสอบโดยใช้ T-test และ F-testโดยใช้โปรแก รมสำเร็จรูป

          ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 234 คน (ร้อยละ 58.50) เพศชาย จำนวน 166 คน (ร้อยละ 41.50) มีอายุระหว่าง 20-29 ปี  จำนวน 167 คน (ร้อยละ 41.80) รองลงมาคือ อายุ 30-39 ปี จำนวน 91 คน (ร้อยละ 22.80) การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 208 คน (ร้อยละ 52.00)  มีอาชีพเป็นพนักงานบริ ษัท จำนวน 109 คน (ร้อยละ 27.30) รองลงมาคือ พนักงานของรัฐ จำนวน 81 คน (ร้อยละ 20.30)  และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001-30,000 บาท จำนวน 126 คน (ร้อยละ 59. 00) รองลงมาคือ 10,001-20,000 บาท จำนวน 119 คน (ร้อยละ 85.00)

          พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศพบว่าวัตถุประ สงค์ที่นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางไปอำเภอหัวหินโดยรถไฟ  พบว่า เพื่อการท่องเที่ยว/พั กผ่อน จำนวน 181คน (ร้อยละ 45.20) ความถี่ใช้บริการโดยรถไฟ 2-10 ครั้งต่อปี จำนวน 3 25 คน (ร้อยละ81.20 ) บุคคลที่เดินทางไปด้วย คือ เพื่อน จำนวน 201 คน (ร้อยละ 50.20) เวลาที่เลือกใช้ในการเดินทาง ช่วง 8.00-12.00น. จำนวน 188 คน (ร้อยละ 47.00)

          ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟเส้นทาง กรุงเทพ-หัวหิน ช่วงสถานการณ์โคโรน่าไวรัส  พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพร วมอยู่ที่ 3.70 (0.43) โดยด้านความปลอดภัย มาเป็นอันดับหนึ่งที่ 3.98 (0.58) รองลงมาคือด้านการบริการอยู่ที่ 3.87 (0.71) รองลงมาคือด้านด้านการนำเสนอลักษะทางกาย อยู่ที่ 3.6 6 (0.56) รองลงมาคือด้านคุณลักษณะของสถานี อยู่ที่ 3.60 (0.64) และด้านบุคลากรมีควา มพึงพอใจปานกลางอยู่ที่ 3.37 (0.66)

References

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2561). ประวัติความเป็นมาของรถไฟไทย. http://www.railway.co.th/Home/Index. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563

ชรัส พิริยะพัฒวัฒน์. (2543). ความพึงพอใจของผู้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางและการยอมรับของผู้เดินทางต่อระบบขนส่งสาธารณะแบบก้าวหน้าในกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วริศรา เจริญศร (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยุวดี วรสิทธิ์ และเอก ชุณหชัชราชัย. (2559). ปัจจจัยทางด้านคุณภาพบริการที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ในกรุงเทพมหานคร และพฤติกรรมการใช้บริการที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน– กรกฎาคม2559).

ศิริรัตน์ สะหุนิล และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2543). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4.

E-magazine. (2560). สถานีรถไฟหัวหิน สถานีรถไฟที่สวยที่สุดในประเทศไทย. ที่มา https://www.emagtravel.com/archive/railstation-huahin.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563

Yamane, T. (1973). Statistics : an introductory analysis. New York: New York Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2023