การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปิโตรเลียม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปิโตเลียม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7Eบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปิโตรเลียมโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนัก เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E กลุ่มตัวอย่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 โรงเรียนแวงแก้ววิท ยา จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก (B) ได้ตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 และข้อที่มีค่าความยากง่าย (P) 0.20 – 0.81 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน แบบมาต รา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ปิโตรเลียม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.93/82.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เรื่อง ปิโตรเลียม โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช.(2550). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์นำไปสู่..การจัดการเรียนรู้ของ ครูยุคใหม่.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้.(2544). ปฏิรูปการเรียนรูผู้เรียนสำคัญที่สุด (พิมพครั้งที่ 2) .กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ชาตรี เกิดธรรม.(2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เบญจวรรณ สุอินทร์.(2558). ผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดฝึกประกอบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 7E : สารนิพนธ์ ศศม.มหาวิทยาลัยราชธานี.
ประเวศ วะสี.(2544). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.
รุ่ง แกวแดง.(2544). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพครั้งที่9. กรุงเทพฯ : มติชน.
ศิวพร ศรีจรัญ.(2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีผลการคิดอย่างมีเหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ . ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนงค์ คำแสงทอง.(2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเรื่องไฟฟ้า กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบสมองครบส่วน (สคศ.) การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรทัย ยุวจิตรากูล.(2560) .รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาชีววิทยา. โรงเรียนราษีไศล องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ.
Bransford, J.D., A.L. Brown, and R.R. Cocking. (2000). How People Learn: Brain, Mind,Experience,and School. Washington, D.C. : National Academy Press.
Lawson, A. E.(1995) . Science Teaching and the Development of Thinking. Belmont : Wadsworth.
Thorndike and Elizabeth Hagen.(1969). Measurement and Evaluation in Psycology and Education by Robert L. 3rd ed. New York : Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.