ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ผู้สูงอายุ, ส่วนผสมทางการ 4P’Sบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในจังหวัพระนครศรีอยุธยาของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบเชิงปริมา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.20) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในปริญญาตรี (ร้อยละ 54.00) ประกอบอาชีพข้าราช การบำนาญ (ร้อยละ 40.50) ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท (ร้อยละ 36.20) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวมาอันดับที่หนึ่ง จำนวนวันที่มาท่องเที่ยว 1 วันมาเป็นอันดับหนึ่งช่วงเวลาที่เลือกเดินทางท่องเที่ยวนิยมเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุด สุดสัปดาห์และเลือกเดินทางกับครอบครัวมาเป็นอันดับหนึ่ง เหตุผลที่เลือกเนื่องจากชื่อเสียงของจังหวัดและการเดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวประมาณการแต่ละครั้งอยู่ในช่วงระหว่าง 1,001 - 5,000 บาท และระดับคิดเห็นด้านส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มผู้สูงอายุต่อการการตัด สินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวกรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก (= 4.15) รองลงมาคือ ด้านสถานที่อยู่ในระดับมาก (= 4.07) ด้านราคาอยู่ในระดับมาก (= 3.99) และน้อยที่สุดคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (= 3.92)
References
ปริณา ลาปะ.(2558).พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย.วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). ปีที่ 4 ฉบับที่ 1,30-45.
ปัณณวิชญ์ พยุหวรรธนะ.(2559).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อวิปปิ้งครีม. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนชัย ดาบุตร.วิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/prawatiphvikrrmnakthxngtheiyw/khwam-hmay-khxng-phvtikrrm-nak-thxng-theiyw.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2014). สังคมผู้อายุ : นัยยะต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. STOUONLINE.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html .
เอกรัฐ วงศ์วีระกุล .(2553).ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย กับธนาคารพาณิชย์ของคนทำงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.