การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • อภัยพร สิลารักษ์
  • อ้อมธจิต แป้นศรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R, วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R, การอ่านจับใจความสำคัญ

บทคัดย่อ

                      การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6      2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R    เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำ คัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าครั้งนี้จำนวน 32  คน   ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  มีแบบแผนการวิจัยคือ แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดลองก่อนหลัง เครื่องมือที่ใช้ทดลอง  คือ  ชุดกิจ กรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R   เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำ คัญแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจ กรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R  เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test Dependent) จากการศึกษาผลการวิจัยพบว่า  1)  ชุดกิจกรรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากและประสิทธิภาพ  77.50/79.56  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  75/75   2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  3) นักเรียนมีความพึงพอ    ใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R   เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนภรณ์ ขันคำนันต๊ะ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโรงเรียนเทพพิทักษ์. วิทยาอำเภอเมืองจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ค.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ : อุตรดิตถ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญไทย พลค้อ. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยเน้นเทคนิคผังกราฟิกต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี : อุดรธานี.

ปกรณ์ ประจันบาน. (ม.ป.ป). โปรแกรมตรวจข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบ และวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.

__________. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ริมปิงการพิมพ์.

วิไล รัตนพลที. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปซิปปา. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สถาพร ดียิ่ง. (2548). ผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาครู. ปริญญานิพนธ์ ดศ.ม.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินผลคุณภาพการศึกษา (สมศ.).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ, (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุคนธ์ สินธพานนท์, (2545). การจัดระบบการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). การอ่านทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อัจฉรา เจตบุตร. (2554). การพัฒนาบทเรียนสื่อประสม: การเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.มหาวิทยาลัยศิลปากร.กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-03-2023