แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย์-รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ผู้แต่ง

  • อิสระ ดีครัน

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, กลุ่มโรงเรียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และหาแนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)   ของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพบพระ -   วาเล่ย์ -รวมไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต2 กลุ่มตัวอย่างและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบ ถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละค่าความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า  สภาพการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพบพระ- วาเล่ย์- รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต2 พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ปัญหาการส่งเสริมพบว่ามีปัญหาด้านวิสัยทัศน์ร่วมกันมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพด้านร่วมแรงร่วมใจ     และร่วมมือด้านชุมชนกัลยาณมิตร และด้านภาวะผู้นำตามลำดับ แนวทางการส่งเสริมพบว่า ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกันคือ ผู้บริหารควรจัดให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์  ด้านร่วมแรงร่วมใจ  และร่วมมือ คือ ผู้บริหารควรมีการสื่อสาร และทำความเข้าใจกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านภาวะผู้นำ  คือ  ผู้บริหารควรจัดให้มีการส่งเสริมศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล ด้านชุมชนกัลยาณมิตร คือ ผู้บริหารควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาและด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนาและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 

References

ธีรยุทธ รุจาคม.(2561). การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด.(2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปิยณัฐ กุสุมาลย์.(2560). แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรอรดี ซาวคาเขตต์.(2561). สภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

พิชิต ขำดี. (2561). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). “โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1), หน้า 93-102.

สิรภพ บุญยืน. (2560). แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560).คู่มือประกอบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานกลุ่มโรงเรียนพบพระ วาเล่ย์ รวมไทย. (2561). รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มโรงเรียนพบพระวาเล่ย์ รวมไทย. ปีการศึกษา 2561. ตาก : เอกสารอัดสำเนา.

อดุลวิทย์ ปิจจะ. (2561). การศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023