การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คำสำคัญ:
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อสำรวจสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์วิชาชีพ การรับรู้เกี่ยวกับปริมาณการปฏิบัติงานและลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เกิดขึ้นจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในรายวิชาการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครู หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา สาขาวิ ชาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 28 คน ของมหาวิทยาลัยปทุมธานี เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถ ามความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสารการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหา และข้อเสนอแนะในการดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่ามัชฉิมเลขคณิต ค่าเบี่ย งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านการวางแผนการฝึกประสบก ารณ์วิชาชีพ โดยมีโรงเรียนภายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยปทุมธานีเป็นแหล่งฝึกประสบการ ณ์วิชาชีพ และมีอาจารย์ประจำที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยงด้านการดำเนินการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การควบคุมชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แล ะศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย นักศึกษามีความพึงพอใจมากในด้านการวาง แผนการจัดประสบการณ์วิชาชีพและการดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และมีการรับรู้ใ นระดับมากเกี่ยวกับปริมาณการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูและลักษณะความเป็นครูที่เกิดขึ้นจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแต่ก็ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเวลาให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกร รมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และบทบาทของครูพี่เลี้ยงในการนิเทศนักศึกษา
References
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2551). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์. ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์. (2545). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตสาขา การสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาสารเกษตรศาสตร์(สังคม). 23(2): 104 - 117.
เอกภูมิ จันทรขันตี, ชาตรี ฝ่ายคำตา และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2551). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู: รายวิชาการสังเกตและปฏิบัติงานในชั้นเรียนสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี. วารสารวิจัย มข. 13(11): 1345-1357.
Graham, B. (2006). Conditions for successful field experiences: Perceptions of cooperating teachers. Teaching and Teacher Education. 22: 1118-1129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.