การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม

ผู้แต่ง

  • ณัฐชา พลเยี่ยม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์   เรื่อง  สมการและการแก้สมการของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปางมะหัน   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ผลการวิจัยพบว่า  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย  1)  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง      สมการและการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์   เรื่อง   สมการและการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6      ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ      3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ด้วยการจัดกิจกรรมการ   เรียนรู้โดยใช้สื่อประสม แบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล    โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย โดยการทดสอบค่าที แบบ t-test Dependent 

 ผลการวิจัยพบว่า  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม    มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 23.13 คิดเป็นร้อยละ 77.08 และมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.04 คิดเป็นร้อยละ 36.81 เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยมาทดสอบค่าที พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                      2. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมมีระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมมีคะแนนเฉลี่ย 4.74 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด         

References

กชกร พัฒเสมา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ.

จิรภา นุชทองม่วง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่โดยใช้กระดานตะปูร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ในระดับประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสว่างวิทยา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชยุตม์ ล้อธีรพันธ์. (2558). การเปรียบเทียบการใช้โปรแกรม GSP กับโปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

ภานุมาศ วรสันต์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมจีโอ จีบรา เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม.

วิฑูรย์ นินาลาด. (2552). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "การบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วน" โดยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดลาดบัวขาว กรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาวี ใจกว้าง. (2554). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง "สมบัติของจำนวนนับ" โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนสาธิตแห่งหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิธร แก้วมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค K-W-D-L สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สิภาลักษณ์ สิโรจน์บุญญาพร และคณะ. (2558). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://edu.msu.ac.th/่journal/home/journal_file/486.

pdf.

สุทิน บับภาวะตา. (2558). ผลของการใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทางคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารครุพิบูล. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023