ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ อินตะนัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • วิมลพรรณ ศักดี วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นุชรี พิทักษ์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ดนัย ลามคำ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นริศรา ไชยรถ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ศราวุฒิ จำวัน วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชิตพล วิไลงาม วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • พยุงศรี ดีโคตร วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน, ส่วนประสมทางการตลาด, กระบวนการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  รวมทั้งหมดจำนวน 400 คน  เครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสิน    ใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  ตัวแปรทั้ง สองโดยภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในเชิงบวกและมีความสัมพันธ์  ในระดับสูงแสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน      

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล(พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

ฉัตรวิสา พราหมณ์ลอย. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการ SCB Easy App ของธนาคารไทยพาณิชย์ (มหาชน) ในจังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, สืบค้นจาก: http://ejodil.stou.ac.th/ filejodil/14_1_592.pdf.

ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2565). จำนวนประชากรจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/web/stat Page/statByYear.php.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). B2C E-commerce กลุ่มสินค้า ปี’ 65 คาดขยายตัวราว 13.5% จากการดึงส่วนแบ่งหน้าร้านโดยเฉพาะอาหารและของใช้ส่วนตัว. สืบค้นจาก: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/E-commerce.

สายพิณ ทับทิมดี, ภูมิพิชัย ธารดำรง, และสรียา ศศะรมย์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจชำระค่าสินค้าผ่านคิวอาร์โค้คของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 184 – 190.

Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4thed. New York : Houghton Mifflin.

Lauterborn, B. (1990) . New Marketing litany; Four Ps passe; C-words take over. Advertising Age, 61(41): 26.

Philip Kotler & Kevin Keller. (2012). Marketing Management. 14th ed. New Jersey : Prentice Hall.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York : Harper & Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023