ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ กรณีศึกษา ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ หิรัญรักษ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, นโยบายสาธารณสุข

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ  (1)  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติของ ตำบลบางประมุง  อำเภอโกรกพระ จังหวัดนคร สวรรค์ และ     (2)   เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ   ของตำบลบางประมุง  อำเภอโกรกพระ   จังหวัดนครสวรรค์     ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  (qualitative research)   โดยใช้วิธีการศึกษาจาก เอกสาร   ตำรา    และวิธีการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติทั้งในส่วนของผู้รับมอบ นโยบายในการสนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้ที่รับนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติงานตามนโยบายสาธารณสุข รวม  5 ท่าน   ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม  2561   ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยพบว่า  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ   แบ่งเป็น นโยบายที่มีความชัดเจน   การมีทัศนคติต่องานในด้านบวก สามารถรับรู้บทบาทของตน  มีแรงจูงใจในการทำงานซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงาน  องค์กรในชุมชนทุกกลุ่มให้ความร่วมมือโดยเฉพาะความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่    ได้รับเงินทุนสนับสนุนปีละครั้ง ได้รับสนับสนุนวัสดุ / อุปกรณ์จากหน่วยงานของรัฐ      และการได้รับการนิเทศติดตามงานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข    ในด้านปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณสุขไปปฏิบัติ  คือ  ด้านงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ   การขาดความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความไม่ตรงกัน     และความไม่เห็นถึงความสำคัญของงานด้านสาธารณสุข   ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน  จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการจะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น   ต้องอาศัยปัจจัยที่มี  ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นสำคัญ และเพื่อเป็นการพัฒนางาน ซึ่งผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ  ดังนี้  (1) ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงานการสนับสนุนในส่วนของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ  และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมต่อ การดำเนินงานเพิ่มขึ้น  (2)  ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ และติดตามผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้

References

กานต์ เสกขุนทด. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2560). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2560.

พิชญะ ชาญณรงค์. (2556). การนำนโยบายการอำนวยความเป็นธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไปปฏิบัติในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรเดช จันทรศร. (2542). การนำนโยบายไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). หนังสือโครงการตำราสมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพมหานคร : สหายบล็อก และการพิมพ์.

วรเดช จันทรศร. (2558). หลักการกำหนดนโยบายของรัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สหายบล็อก และการพิมพ์.

วิวัฒน์ หิรัญรักษ์. (2560). การนำนโยบายสาธารณสุขมูลฐานไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่5).กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะแนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 16). สำนักพิมพ์เสมาธรรม .คณะรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรทัย เลียงจินดาถาวร.(2559). พื้นที่ต้นแบบการบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานส่วนท้องถิ่น : ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรทัย เลียงจินดาถาวร.(2559). พื้นที่ต้นแบบการบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานส่วนท้องถิ่น : ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023