การจัดทำบริการสารธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การบริการสาธารณะ, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ในการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่ อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การปกครอ งส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน และวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภ าพ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยรวบรวม คัดเลือก และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็ง มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ด้านโครงสร้างองค์การ มีการจัดสายงานเป็นหมวดหมู่ตามภารกิจที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีสายงานการบังคับบัญชาตามลำดับอย่ างชัดเจน จุดอ่อน พบว่า ขาดการประสานงานที่ดี และมีระบบอุปถัมภ์โอกาส พบว่า มีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมทำให้ประชาชนและอบต.มีรายได้สูงและอุปสรรค พบว่า รัฐบาลขาดความจริงใจและจริงจังในการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ จากส่วนกลาง อีกทั้งแนวโน้มการย กฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลทั่วประเทศ และการควบรวมองค์การปก ครองส่วนท้องถิ่น และในส่วนของประชาชนมีความพึงพอใจต่อองค์การบริหารส่วนตำบล พ บว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.57) เมื่อพิจารณาเป็นราย อบต. พบว่า ประชาชนนั้นมีความพอ ใจต่อการจัดทำบริการสาธารณะของ อบต.เทพารักษ์ มากที่สุด ( = 3.72) รองลงมาคืออ บต.บางปลา (= 3.61) อบต.แพรกษาใหม่(=3.53) อบต.บางเสาธง (=3.50) และอบ ต. บางโฉลง (=3.49)
References
Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Originally Published in Psychological Review, 370-396.
Wheelen, T.L., & Hunger, J.D. (2006). Strategic Management and Business Policy(10th ed). U.S.A. : Peason Prentice Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). New York : Harper & Row.
กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น. (2560). รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th.(สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560).
จตุพร เสถียรคง. (2551). ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ต่อการปรับเปลี่ยนสถานภาพจากสถาบันเป็นมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนิกานต์ วงษ์กรณ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี . รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชลนิชา สมภักดี. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองตะเคียนบอน จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนวรรณ แสวงศรี. (2556). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ปภานวิน ศิริรวง. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานิตย์ พูลมะเริง.(2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุคลธร อรรถศิริ. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลยางช้าย อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก),74-75.
วรางคณา ผลประเสริฐ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาทินี ทะปัญญา. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบริหารจัดการองค์การตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาธิต วายลม. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการด้นโครงสร้างพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลผักขะ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). รายงานผลการประเมินเป้าหมายมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล. เข้าถึงได้จาก http://www.odloc.go.th. (สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล.เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th.(สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.