การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาสาขาวิชาการจัดการการ ท่องเที่ยว และการบริการเชิงนวัตกรรมสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จากทรรศนะของสถานประกอบการ

ผู้แต่ง

  • สุวราภรณ์ ไชยเกษมศานต์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

สมรรถนะที่พึงประสงค์, สหกิจศึกษา, ทรรศนะของสถานประกอบการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึก ษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น  จากทรรศนะของสถานประกอบการ และเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้รับไปใช้ในการพัฒ นาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับควา มต้องการของสถานประกอบการ   กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าไปฝึกสหกิจศึกษา  โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการ  ได้แก่  เจ้าของกิจการ/ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ/หัวหน้างาน พนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล พนักงานที่ปรึ กษาหรือผู้นิเทศของนักศึกษาสหกิจศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริกา รเชิงนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน ใช้สถิติในการพรรณาข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาสาขาวิชาการจัด การการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรม  สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นจากทรรศนะข องสถานประกอบการอยู่ในระดับมาก สามารถจัดอันดับได้ดังนี้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และลำ ดับสุดท้าย  คือ ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศ  เมื่อพิจารณาปัจจัยสมรรถนะทั้งหมด 6 ด้าน (60 ตัวแปร) ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีความสุภาพอ่อนโยนในการต้อนรับแขกผู้มาเยือน 2) นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และการปฏิบัติตนที่ดีต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 3) ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตรกับผู้รับบริการ  4) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  5) นักศึกษามีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาตามหลักปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ, นักศึกษามีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีส่วนร่วมในกิจกรรม และมีภาวะผู้นำ, แสดงความมีน้ำใจ เต็มใจให้บริการลูกค้า, มีความซื่อ สัตย์สุจริต และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

References

กนกวรรณ ศรีทองสุก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทำงานโดยมีความเชื่ออำนาจในการควบคุมภายในเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม

และองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จริยา ตันติวราชัย และ อนุชิต จันทรโรทัย. (2560). ที่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. วารสารสารสนเทศ. 16(1), 27 – 36.

ชัญญา ตันสกุล และ กัญญามน กาญจนาทวีกูล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ตามกรอบอาเซียนของสถานประกอบการเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(2), 23 – 42.

นันทพงศ์ หมิแหละหมัน นรรถสรรพ เล็กสูเฉลิมชาติเมฆแดง และวัฒนา จินดาวัฒน์. (2563). การใช้กิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(2), 559 – 567.

บุปผา ภิภพ สาคร บัวบาน และบุญเลิศ เต็กสงวน. (2559). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาของสถานประกอบการที่เข้าร่วมสหกิจศึกษา. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา.10(1), 74 – 85.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(2), 208 – 222.

พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในทัศนะของผู้บริหารสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2(1), 11 – 21.

พาทิศ คงโสมา. (2555). สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2(3), 18 – 24.

เยาวพา ณ นคร และศักดิ์ชัย คีรีชัย. (2553). การสำรวจความต้องการของสถานประกอบการต่อการฝึกงานในระบบสหกิจศึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา. รายงานการวิจัยของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา.

รวินันท์ การะเกษ. (2556). ความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์และคณะ. (2562). การศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว และการบริการของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สืบค้นจาก: http://prp.trf.or.th/wp-content/uploads/2021/05/TSRI-Research-Brief-Year-10-Vol.07.pdf.

ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2564). ความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2566). คู่มือสหกิจศึกษา. สืบค้นจาก:https://coop.tni.ac.th/.

สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมฤทัย อยู่รอต. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน) สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อนุชา ลาวงค์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร.(2550).สมรรถนะ (Competency). สืบค้นจาก : https://www.np.go.th/index/ add_file/gPzHyc YMon42007.pdf.

อรพินทร สันติชัยอนันต์. (2549). การศึกษาคุณ ธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023