ผลของการใช้โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีผลต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิกของนักกีฬาฟุตบอลหญิง

ผู้แต่ง

  • บุตรดี เนียมเกาะเพ็ชร
  • ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พงษ์เอก สุขใส มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบา, สมรรถภาพแอนแอโรบิก

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมแบบหนักสลับเบา     ที่มีผลต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิกของนักกีฬาฟุตบอลหญิง       กลุ่มตัวอย่างคือนักกีฬาฟุตบอลหญิงที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตสุโขทัย จำนวน   20      คน กำหนดให้มีกลุ่มทดลองจำนวนทั้งสิ้น  10  คน และกลุ่มควบคุม 10 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มควบคุมฝึกฟุตบอลตามปกติ กลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมแบบหนักสลับเบาและฝึกฟุตบอลตามปกติ สัปดาห์ละ 2 ครั้งรวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ทดสอบสมรรถภาพแอนแอโรบิก ด้วยวิธี Running - based Anaerobic Sprint Test (RAST Test) ก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบ(T - Test independent) และเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังโดยการทดสอบหาค่า   ทีแบบ (Paired - Sample T - Test) ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลของการใช้โปรแกรมแบบหนักสลับเบา 8 สัปดาห์ พบว่าค่าเฉลี่ยพลังแบบแอนแอโรบิกความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก ของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยดีกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2. ผลของการใช้โปรแกรมแบบหนักสลับเบา 8 สัปดาห์ พบว่าค่าเฉลี่ย พลังแบบแอนแอโรบิกความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก ของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยดีกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิรวัฒน์ ทองเอี่ยม. (2558). ความสัมพันธ์ของสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกระหว่างการทดสอบด้วยวิธีของวินเกตแอนแอโรบิก รันนิ่งเบสท์แอนแอโรบิกสปริ๊นท์และการวิ่งเร็ว 40 หลา 4 เที่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจริญ กบวนรัตน์ (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา.(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). หลักการฝึกและเทคนิคการฝึกกรีฑา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : หจก มีเดีย เพรส.

ทศพล ชวนบุญ. (2558). ผลของการฝึกวิ่งแบบหนักสลับเบาที่ความหนักระดับสูง ที่มีต่อสมรรถภาพแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ วทบ. กรุงเทพฯ.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระศักดิ์ อาภาวัฒนาสกุล. (2552). หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุ่ม ม่วงมี. (2527). อินเทอร์วาล เทรนนิ่ง. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

ปิยะวัฒน์ ลือโสภา. (2561). ผลของการฝึกเสริมด้วยความเร็วอดทนที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกและความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วซ้ำๆในนักกีฬาฟุตบอล ชายระดับมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ วทบ, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวุธ ขาวสนิท. (2560). ผลของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรยากาศปกติที่มีผลต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกใน นักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย .ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา สีละมาด. (2560). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baechle, T ., & Earle, R. (2000). Essentials of strength Training and Conditioning, illionois. In : Human Kinetices Books.

Beam, W. C., & Adams, G. M. (2011). Exercise physiology laboratory manual.

Helgerud, J.; Engen, L.C.; Wisloff, U.; Hoff, J. Aerobic endurance training improves soccer performance.Med. Sci. Sports Exerc. 2001, 33, 1925–1931.

Plowman, S.A., and Smith, (1997). D.L. Exercise physiology for health, fitness, and performance. Boston : Allyn and Bacon.

Power, S. K., & Howley, E. T. (2009). Exercise physiology : Theory and application to fitness and performance. New York : McGraw-Hill.

Wathen, D., & Roll, F.(1994). Wathen, D., & Roll, F. (1994). Training method and modes. Essentials of Strength Training and Conditioning, 403-415.

Zacharogiannis, E. , Paradisis, G. , & Tziortzis, S. (2004) . An evaluation of tests of anaerobic power and capacity. Medicine & Science in Sports & Exercise, 36(5), S116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-02-2023