การศึกษาปัจจัยเสี่ยงในการส่งออกสินค้าทางเรือไปทวีปเอเชีย กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด มหาชน

ผู้แต่ง

  • วรพจน์ เกษอางค์
  • รัฐยา พรหมหิตาทร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

คำสำคัญ:

การส่งออก, ความเสี่ยง, การบริหารความเสี่ยง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงในการส่งออกสินค้าทางเรื อไปทวีปเอเชีย กรณีศึกษาบริษัท เอบีซี จำกัดมหาชนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือพนักงานในส่วนการส่งออกสินค้าประก อบด้วยแผนก Order  แผนก Traffic แผนก export แผนก Government แผนก Shipp ing จำนวน  90 คนโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้ง หมด  73  คน จากการวิเคราะห์ค่าคะแนนความเสี่ยงด้วยการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผล กระทบ (FMEA)   ผลการศึกษาพบว่าความเสี่ยง 5 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยความเสี่ยงภาย ใน  คือ   1. ด้านบุคลากรในการจัดทำเอกสารผิดพลาดมีค่า RPN อยู่ที่ 218.20 คะแนน  2. ด้านการดำเนินงานในการตรวจสอบเอกสารที่ประเทศปลายทาง  มีค่า  RPN อยู่ที่  209.71 คะแนน ปัจจัยความเสี่ยงภายนอกคือ  3. การให้บริการของสายเรือ มีค่า RPN อยู่ที่ 121.40 คะแนน จากนั้นทำการเลือกปัจจัยด้านบุคลกรในการจัดทำเอกสารผิดพลาดมาทำการบริหา รความเสี่ยงลำดับแรกทำการหาสาเหตุของความเสี่ยงโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แผนผังและสา เหตุ   พบว่า พนักงานมีการทำงานที่ไม่ตรงกัน มีบางจุดที่พนักงานทำงานไม่เหมือนกันเป็น ต้น

          ผู้ศึกษาได้นำหลักการบริหารความเสี่ยง (Risk management) มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว   โดยความเสี่ยงจากการที่เอกสารในการส่งออกสินค้ามีความผิดพลาด ใช้การลด/ควบคุมความเสี่ยง   โดยการจัดทำคู่มือในการปฏิบัติเพื่อให้ปฏิบัติงานเหมือนกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยในความเสี่ยงที่มีค่าคะแนนอยู่ในลำดับที่ 2 และ 3 ผู้วิจัยไม่สามารถนำมาบริหารความเสี่ยงได้เนื่องจากเป็นปัจจัยภายนอกไม่สามารถบริหารจัดการควา มเสี่ยงได้

References

กระทรวงพาณิชย์. (2562). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://tradereport.moc.go.th/ (วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2562).

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). ข้อมูลการส่งอาหารทะเลแช่แข็ง.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.ditp.go.th/ditp_web61/(วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2565).

การค้าระหว่างประเทศ. (2559). การค้าระหว่างประเทศ . [ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก https://biz.govchannel.go.th/th/Home/Article/25 (วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2562).

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2562). การบริหารความเสี่ยง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thai-sciencemuseum.com/risk/ (วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2562).

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). การวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ Failure Mode and Effect Analysis (FMEA). เข้าถึงได้จาก http://www.mim.psu. ac.th/index.php/2 (วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2562).

ดวงฤดี กิตติจารุดุลย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา: บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น. กรุงเทพฯ.

ธนัญญา วสุศรีและภูริชยา สัจจาเฟื่องกิจการ. (2555). การวิเคราะห์ความเสี่ยงโซ่อุปทานธุรกิจการผลิตผักกาดดองบรรจุกระป๋อง. วารสารวิจัยและพัฒนา, 35(3), 311-321.

อติศักดิ์ ไสวอมร.(2557). การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโดยประยุกต์ใช้เทคนิค Failure Mode and Effect Analysis : FMEA. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ไพลิน แซ่อิ๋ว, อรรถพล กาญจนพงษ์พร และ ธนวรรธน์ ฟองศรี. (2557). การประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA ในกระบวนการเบิกจ่ายค่าชดเชยทางการแพทย์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลป่าตองจังหวัดภูเก็ต. ปริญญาบริหารธุรกิจมหบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ.

สุรเดช เลิศสมบูรณ์สุข และ ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์. (2558). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านต้นทุนการขนส่งสำหรับธุรกิจฟาร์มเห็ด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023