การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านการตลาดออนไลน์ในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ฐิชากร แย้มสมพร
  • ลัสดา ยาวิละ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตนา สิทธิอ่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจซื้อ, สินค้าแฟชั่น

บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพฤติกรรมผู้บริโภคและเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านการตลาดออนไลน์ในจังหวัดพิษณุโลกจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้เคยซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านการตลาดออนไลน์ในจังหวัดพิษณุโลก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดย Indepen dent Sample t-test, One-way ANOVA

           ผลการวิจัยพบว่า   1)  ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก และให้ระดับความคิดเห็นในหัวข้อการได้เห็นรูปภาพและอ่านความคิดเห็นของผู้อื่นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการตลาดออนไลน์เป็นอันดับแรก    รองลงมาคือ    ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการตลาดออนไลน์เพราะมีความสะดวกรวดเร็วในการสั่งซื้อและรูปภาพสินค้าที่มีความสวยงามส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการตลาดออนไลน์เป็นอันดับสุดท้าย  2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางการตลาดออนไลน์ที่แตกต่างกันส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางการตลาดออนไลน์ไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ธงชัย สันติวงษ์.(2554). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

ธีระ กุลสวัสดิ์.(2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี : คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทราพร เม้ามีศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าบนระบบ E-commerce Factors affection the purchase of E-commerce products. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาสารสนเทศสถิติ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรัญญา โพธิ์ไพรทอง.(2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศริศา บุญประเสริฐ.(2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟชบุ๊ก (Facebook). การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแห่งโลกธุรกิจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : วิสิทธ์พัฒนา.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. เข้าถึงได้จาก http://www.edta.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html. (สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561). จังหวัดพิษณุโลก 2561. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดพิษณุโลก.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. New York : London.

Law, Monica, and Mark Ng. (2016). “Age and gender differences : Understanding mature online users with the online purchase intention model.” Journal of Global Scholars of Marketing Science, 26(3) : 248 – 269.

Schiffman, Leon G.: & Kanuk. (2000). Consumer Behavior. (7th ed.). New Jersey : Prentice Hall.

Shaouf, Abubaker, Kevin Lu, and Xiaoying Li. (2016). “The effect of web advertising visual design on online purchase intention: An examination across gender.” Computers in Human Behavior 60 : 622 – 634.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023