การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนละหานทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

ผู้แต่ง

  • สิงหนาท ศรีณรงค์

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อม, การเรียนรู้, นักเรียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายศึกษาระดับและเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนละหานทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประ ถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต 3  จำแนกตามเพศ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี การศึกษา 2562 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม  คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mea n) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบที (t - test) 

          ผลการศึกษาพบว่า 1.การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนละหานทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรา ยด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัด การศึกษาเพื่อสนองความมุ่งหวังของผู้เรียน รองลงไปคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน ด้านการให้บริการผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน  และด้านอาคารสถานที่เป็นอันดับสุดท้าย 2.การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนละหานทรา ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3  จำแนกตามเพศ คือ เพศชาย และเพศหญิง โดยรวมไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านการเรียนการสอน ด้านการให้บริการผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน ด้านสังคม กลุ่มเพื่อน แตกต่างกัน 

References

นรินทร์ สินเนืองนอง. (2551). ความพืงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนธรรมวาที อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพรัตน์ นาคทอง. (2553). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนบ้านซับมะนาวสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วิทยา วิทยวงศาโรจน์. (2552). ความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังดินสอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมฤทัย รอดพูนพงศ์. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมัธยมท่าแคลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุธาวรินทร์ บุญเกิด. (2550). ความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองยายอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต1. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรัตน์ หาญผลาชัย. (2551). ความพึงพอใจของนักเรียน/นักศึกษาที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุชิต สงวนหงส์. (2552). ศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie,Robert V. and Morgan , Earylew. (1970,Authumn). Determining Sample Size for Research Activities. In Tournal of Educational and Psychological Measureent. 30 (3) : 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023