ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง กรรีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิภาส ทองสุทธิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอาย, พื้นที่เขตเมืองจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง   จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครรา ชสีมา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่  ได้กลุ่มตัวอย่างจำ นวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบบมา ตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test แบบ  Independent samples) และ F-test (one way A NOVA) ผลการศึกษาพบว่า

          1. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง  จังหวัดนครราช สีมาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้   ด้านสภาพร่าง กายที่ดีด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดีด้านสภาพอารมณ์ที่ดีด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ตามลำดับ

          2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมื องจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษาในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

          3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจัยด้านสภาพร่างกายที่ดีได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุ หรี่ การตรวจสุขภาพการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย  และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจัยด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดีได้แก่ ผู้สูงอายุสามารถมีอาชีพเพื่อเสริมรายได้และการดำรวชีพโดยพึ่งพาลูกหลานให้น้อยที่สุด ปัจจัยด้านสภาพอารมณ์ที่ดี   ได้แก่ การที่ผู้สูงอายุมีความสุขกาย สบายใจและไม่รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง เดียวดายปัจจัยด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง  ได้แก่  การที่ผู้สูงอายุมีอิสระทางความคิดและแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตลอดจนกล้าที่จะสะท้อนความคิดให้คนในครอบครัว หรือคนรอบข้างได้รับรู้ถึงความต้องกา รที่สมเหตุสมผลต่อไปปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ การที่ผู้สูงอายุได้มีปฏิสั มพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติมิตร และเพื่อนบ้าน รวมถึงการส่งเสริมให้มี กิจกรรมร่วมกันระ หว่างผู้สูงอายุ คนในครอบครัว ญาติมิตรหรือเพื่อนบ้าน   และปัจจัยด้านการรวมกลุ่มทางสัง คม ได้แก่ ผู้สูงอายุได้แสดงความรู้ควาสามารถ ตลอดจนการแสดงศักยภาพที่ตนมีอยู่  รวมถึงการได้รับการยอมรับนับถือจากคนในชุมชน  

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546.กรุงเทพฯ : เจ เอส การพิมพ์.

เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพนธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา,ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บรรลุ ศิริพานิช. (2543). ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

บุญชม ศรีสะอาด.(2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สีริยาสาสน์.

บังอร ธรรมศิริ.( 2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการเวก ฉบับนิทรรศการวันเจ้าฟ้าวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. หน้า 47-56.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สุพร คูหา. (2552). แนวทางการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี, ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023