การศึกษาสินค้าเกษตรแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดบ้านห้วยเดื่อพัฒนาเพื่อประเมินโอกาสในตลาดท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
สินค้าเกษตรแปรรูป, วิสาหกิจชุมชน, ตลาดการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดบ้านห้วยเดื่อพัฒนาศึกษาแนวคิดผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ของสินค้าเกษตรแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด บ้านห้วยเดื่อพัฒนาและศึกษาแนวทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ของสินค้าเกษตรแปร รูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดบ้านห้วยเดื่อพัฒนาเพื่อประเมินโอกาสใน ตลาดท่องเที่ยวจังหวัดลำปางได้ในอนาคตมีรูปแบบการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (focus group) ระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนรู้ (Brainstorming) กับผู้เข้าร่วมโครง การศึกษานี้ รวมถึงการประชุมและสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรแปรรูป
ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสับปะรดห้วยเดื่อพัฒนาซึ่งมีพื้นฐานการดำเนินชีวิตตามครรลองของคนในภาคเหนือที่ไม่ได้มีความเร่งรีบมากนัก เป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมและแปรรูปผลิตภัณฑ์สับปะรดเป็นอาชีพเสริม มีประสบการณ์ด้านการประกอบการน้อย จึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้ความชำนาญด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงและไม่กล้าตัดสินใจเนื่องจากไม่มีแผนงานรองรับความเสี่ยง ด้านแนวคิดผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ ไม่เคยมีการกำหนดแนวคิดผลิตภัณฑ์เพื่อลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใด และไม่เคยวางแผนพัฒนาองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของลูกค้าในตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางด้านการตลาดผลิตภัณฑ์นั้นมีการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดน้อยมากเพื่อขยายช่องทางการตลาดใหม่ๆ รวมถึงตลาดนักท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). "กรมส่งเสริมการเกษตรฯ" เดินหน้า "พัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูป" สร้างโอกาสในตลาด. บริษัท สยามธุรกิจ พับลิชชิ่ง, จำกัด ฉบับวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.siamturakij.com/news/22575. (สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563).
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). ความสำคัญของการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร.เข้าถึงได้จาก http://www.sceb.doae.go.th/data/ktank/ความสำคัญของการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563).
กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์. (2562). กระทรวงอุตฯ ผนึกกำลังพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าจัดงาน Thailand Industry Expo 2019. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมการ. เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/prg/3006828 .(สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563).
จิตตานันท์ ติกุลและคณะฯ. (2550). โครงการศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอีสานใต้. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นพพร จันทรนำชู และพรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุของผู้ประกอบการท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตก เพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ .37(1) เดือนมกราคม – มีนาคม 2560, 52-64.
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุขและวศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2559). ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวังพิษณุโลกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.12(2) เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม ,217-243.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์ และสุชาดา เมฆพัฒน์. (2561). การพัฒนาสินค้าหัตถกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านถวายโดยชุมชน. วารสารธรรมศาสตร์,37(1) ,125-148.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาลำปาง (2561). ลำปาง amazing ไทยเท่.เข้าถึงได้จาก
http://www.api.tat.ot.th/upload/multimedia/ebrochure/file/live/LampangTH-1547712329.pdf. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาลำปาง (2563). ข้อมูลพื้นฐานของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดลำปาง. สืบค้นจาก https://www.lampang.mots.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563.
ศุภชัย เหมือนโพธ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Coltman] Michael M. (1989). Tourism Marketing. New York : Van Norstrand Reinhold.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.