การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคปิ่นโต (PINTHO Model)

ผู้แต่ง

  • วิทยา พัฒนเมธาดา
  • คุณาพิชศน์ แซมสีม่วง
  • สิริกร ชุ่มเชย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารองค์กรเชิงกลยุทธ์, ปิ่นโต โมเดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้าง/พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพื่อศึกษาผลการใช้และผลกระทบต่อนักเรียน  ครู  ผู้บริหารและสถานศึกษา   ภายหลังการใช้รูปแบบการบริ หารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์ สู่ความเป็นเลิศฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 คน ผู้มีส่วนได้เสียโร งเรียนสันป่ายางวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 487 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา และการบริหารสถานศึกษาจำนวน 17 คน ผู้มีส่วนได้เสียโรงเรียนดอย เต่าวิทยาคมจำนวน 1,495 คน โดยใช้วิธีการวิจัยคือ 1)การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึก ษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา    2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศฯ 3) การศึกษาผลการใช้และผลกระทบต่อการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศฯ

          ผลการวิจัยได้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ ปิ่นโต โมเด ล (PINTHO Model) ที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการนำไปใช้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ผลการใช้และผลกระทบต่อรูปแบบฯ พบว่าผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด อยเต่าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 25 59 สูงกว่า 2 ระดับ  คุณภาพ 8 ตัวบ่งชี้ สูงกว่า 1 ระดับ คุณภาพ 42 ตัวบ่งชี้ และเท่าเดิม 15 ตัวบ่งชี้ ส่งผลให้สถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีสัมฤทธิ์ผลสูง โดยได้รับรางวัลระดั บชาติ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2 รางวัล ครู 30 รางวัล นักเรียน 35 รางวัล และสถานศึ กษา 3 รางวัล และเกียรติบัตรรางวัลระดับเขต จังหวัด และระดับภาคอีกจำนวนหนึ่ง

References

จรูญ จับบัง. (2556). "รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กด้านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของ สพฐ". วิทยานิพนธ์สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาวารสารการบริหารการศึกษา ม.บูรพา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน – กันยายน 2555 หน้า 60.

ดิษย์ชัย แก่นท้าว. (2556). "การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด". วิทยานิพนธ์ สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา ม.ราชภัฎสกลนคร.

ถวิล มาตรเลี่ยม. (2545). “การปฏิรูปการศึกษา : โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ”. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์เสมาธรรม กรุงเทพฯ.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). “รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล”. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย.

นราวัลย์ สุรังค์สุริยกุล. (2555). “รูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมในสถานศึกษา”. บทความวิจัย วารสารบริหารการศึกษา ม.ศ.ว. ฉบับ 16 มกราคม – มิถุนายน 2555 หน้า 26.

สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2557). “การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน”. บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา .วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554. อ้างอิงใน http://www.tci.thaijo.org/index.php/Eduadm_buu/article/view/13308/11968.สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558.

อุดม ชูลีวรรณ. (2558).“รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล”. บทคัดย่อ ดุษฏีนิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-02-2023