การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • รัตนา สิทธิอ่วม
  • คณนันท์ พฤทธสาโรช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒ นาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนน้ำร้อนวิทยาคมการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1)การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารการศึกษาโดยการศึก ษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2)การสร้างแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพั ฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา 8 คน  3) การทดลองใช้แนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนน้ำร้อนวิทยาคม  จำนวน 20 คน  4) การประเมินใช้แนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงเรียนน้ำร้อนวิทยาคมที่เป็นผู้ปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 8 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 

          1. การบริหารจัดการของโรงเรียน มีการประชุมผู้มีส่วนได้เสียน้อยครั้งและไม่ได้ชี้แจ งถึงบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งโรงเรียนไม่มีแผนการพัฒนาการจัดการศึกษาที่ชัดเจน เช่น  แผนที่  เน้นการพัฒนาคน  ครู  สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ยุคใหม่   และการบริหารจัดการยุคใหม่ ในส่วนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนไม่มีการประสานขอความร่ วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อขอรับคำแนะนำ เพื่อหาจุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

          2. ได้แนวทางที่เรียกว่า การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนน้ำร้อนวิทยาคม ด้วยรูปแบบ “Check-in @ น.ร.ว.”    ได้นำเอาหลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) มาใช้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1)ปัจจัยนำเข้าเรียกว่า“โดย น.ร.ว.” น.น้อมนำ,ร.ร่วมมือ, ว.วิธีการ 2) ปัจจัยกระบวนการ เรียกว่า  “Check–in” มี 6 ขั้นตอนและ 3) ปัจจัยผลผลิต เรียกว่า “เพื่อ น.ร.ว.” น.นักเรียนคุณภาพ, ร.โรงเรียนคุณภาพ, ว. วิถีชุมชนพัฒนา 

          3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน มีความเข้าใจและสามารถนำแนวทางสู่การปฏิบัติสร้างเป็นแผนพัฒนาการศึกษา, แผนปฏิบัติการประจำปี,โครงการ/กิจกรรม, แผน การจัดการเรียนรู้ และคู่มือปฏิบัติราชการ คิดเป็นร้อยละ 100 

          4. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้อยู่ในระดับมา กที่สุด ดังนี้ ด้านความเหมาะสม (gif.latex?\dpi{100}&space;\fn_phv&space;\bar{x} = 4.78, S.D. = 0.29) และด้านความเป็นไปได้ (gif.latex?\dpi{100}&space;\fn_phv&space;\bar{x} = 4. 64,S.D. = 0.38)  

References

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2547, ก.ค. 2547). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.กรุงเทพ. 2(2), 131-139.

ชัยศักดิ์ ตั้งนิติพิฐจักร และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2561). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9(2), 191-198.

ประภา สมาคม. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10.เข้าถึงได้จาก http://www.youtube.com/watch?v=jO-9YJqKUEs.(วันที่สืบค้น 2 มีนาคม 2562).

ยงยุทธ์ ทรัพย์เจริญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 12 (1),11-13.

สถาบันพระปกเกล้า. (2559). ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th-index.php?title=ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี.(วันที่สืบค้น : 2562).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทย. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556-2561). กรุงเทพฯ : วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2561). 23 หลักการทรงงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่9. เข้าถึงจาก http://www.ops.moe.go.th/ops2017/สาระน่ารู้/1863-23-หลักการทรงงาน-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-ในหลวงรัชกาลที่-9fb_comment_id=2022688164468987_316055710401541. (วันที่สืบค้น 2 มีนาคม 2562).

เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์.(2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/33499%-ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่%ไทยแลนด์%204.0.html.(วันที่สืบค้น 2 มีนาคม 2562).

KOICA. (2013). Research on means of results -based management (RBM) for the development consulting project “DEEP”. Korea: Gyeonggi-do.

Minudin, Othman Osman Bin. (1987, January). The Role of the Secondary School Principals as Perceived by Secondary School Principals in Sabah Malaysia. Ph.D. Dissertation Southern Illinois University at Carbondale.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2023