การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำโบราณบางพลีและวัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวชุมชน, ตลาดน้ำโบราณบางพลี, วัดบางพลีใหญ่ในบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำโบราณบางพลี และวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัสมุทรปราการ ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนแห่งนี้เพื่อนำมาสู่การสร้างข้อเสนอใน เชิงนโยบายในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการท่อ งเที่ยวของชุมชนบางส่วน และใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวน 385 คน การวิเคร าะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิง และสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์ ผลการศึก ษา พบว่า ตลาดน้ำโบราณบางพลี และวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการมีการจัดการการท่องเที่ยวที่สำคัญใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการให้บริการนักท่องเที่ยว ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภ ค ซึ่งนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ตลาดน้ำโบรา ณและวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนแห่งนี้มีการจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตริมน้้า เช่น กิจกรรมนั่งเรือชมวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำ รวมทั้งการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวห รือคนในชุมชนมากขึ้น ชุมชนตลาดน้ำโบราณบางพลี และวัดบางพลีใหญ่ใน และหน่วยงานภาครัฐ ยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างเสริมและกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวช่วยกันรักษาความสะ อาดและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนต่อไป
References
กรมการท่องเที่ยว. (2559 ). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.tourism.go.th/view/1/สถิตินักท่องเที่ยว/.(วันที่ค้นข้อมูล: 14 ธันวาคม 2560).
กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ. (2559). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.tourism.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 ธันวาคม 2560).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การจัดการการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการทองเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ซี.พี.บุ๊คสแตนดาร์ด.
ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมทองเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ไฟว์แอนด์โฟร์ พริ้นติ้ง.
ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาเฉพาะบุคคลตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 7(3).
วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. การศึกษาเฉพาะบุคคลตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีระศักดิ์ กราปญจะ. (2554). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ปาชุมชนบ้านอ่าวท่าเลน – บ้านท่าพรุ ตำบลเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.