แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนที่วัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางการจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยคณะผู้วิจัยใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจในการทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะเชิงสำรวจ การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและศักยภาพจำนวน 47 แห่ง ผู้วิจัยจึงมีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสร้างแผนที่ข้อมูลได้แก่ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ รูปแบบวัฒนธรรม และกิจกรรมของพื้นที่ โดยในส่วนของเรื่องราว ความเป็นมาและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้นำมาลำดับเป็นแผนภาพข้อมูลแผนที่เชิงวัฒนธรรม โดยมีแนวทางการเพิ่มศักยภาพสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง ในด้านการเพิ่มคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว พัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยว พัฒนาศักภาพด้านการรองรับการท่องเที่ยว ทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและการเชื่อมโยงระบบขนส่ง การให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้แก่นักท่องเที่ยว และมีแนวทางการจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องโดยการกำหนดกลยุทธ์การตลาด ตามหลักการของ STP คือการแบ่งส่วนการตลาด การกำหนดเป้าหมาย และกำหนดจุดยืนของการตลาดสำหรับนักท่องเที่ยว มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 2 การเตรียมความพร้อมของชุมชน และพื้นที่เพื่อรองรับ กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างสรรค์ทางด้านการตลาด กลยุทธ์ที่ 4 การจัดการความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน และนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ โดยวิเคราะห์ผ่านการประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของพื้นที่ จนสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวจำนวน 2 เส้นทางคือธีมเส้นทางสวนดุสิต “สยามใหม่”ธีมเส้นทาง “ศิลปะ ดนตรี วิถึชนชาติ”
ดังนั้นกลยุทธ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชน ดังนั้นเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่จึงควรมุ่งเน้นผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการฟื้นฟู รักษา และส่งต่อ คุณค่าทางวัฒนธรรมไทยให้แก่คนรุ่นต่อไป ตลอดจนสร้างการรับรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว จนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
Article Details
References
กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). ความหมายของนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ.เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของกรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นิพัทธ์พงศ์ พุมมา และณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). การโหยหาอดีตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง - สาละวิน, 3 (พิเศษ), 47-49.
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข, , วศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2559). การพัฒนารูปแบบและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน. รายงานวิจัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเพทฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย
ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่21. พิมพครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษทัไฟว์แอนด์โฟร์พริ้นติ้งจำกัด.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการทองเที่ยวเชิงสรางสรรค: กรอบแนวคิด สูแนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556 (331-366)
รสิกา อังกูร และคณะ. (2547). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนะรรมและภูมิปัญญาท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วราภรณ์ สายแดง. (2559). เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอ บ้านแหลม จังหัวด เพชรบุรี. รายงานวิจัย บธ.บ. (การจัดการธุรกิจทั่วไป). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2543). ทัศนะนอกรีต : สังคม - วัฒนธรรม ปัจจุบันผันแปร. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
experience, with participative learning in the arts, heritage or special character of a place.
Artipania. (2017). ออกแบบการออกแบบ, สืบค้นจาก https://blog.artipania.com/designing-design- b09865c4084b
Buhalis, D. 2000. Marketing the competitive destination in the future, Tourism Management. Vol.21 No.1, pp. 97-116.
James, P. E. and Martin, G. 1981. All Possible Worlds: A history of geographical ideas. John Wiley & Sons, New York.
Leiper, N. 2004. Tourism management (3rd ed.). Frenchs Forest: Pearson Education Australia.
UNESCO. 1992. World Heritage’s Operational Guidelines Annex 3. United Nations Educational, Scientific And Cultural Organisation
Wurzburger, Rebecca, et al. Creative Tourism: A Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for Travelers Worldwide. Santa Fe: SunstonePress.
Weaver David and Opperman Martin .1998. Tourism Management. Sydney: Jonh Wiley & Sons Australia
Swarbrooke, J., and Horner, S., 2007. Consumer Behavior in Tourism (2nded.). Amsterdam, Boston: Butterworth- Heinemann.
Richard, G (2007). Cultural tourism: global and local perspectives. New York: The Haworth Hospitality Press.